เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์เบญจรัตน์ สัจกุล2024-01-152024-01-15255925672559วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92831สังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ตัวตน อัตลักษณ์และผลกระทบในการใช้ สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุที่มี อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน การสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม และการสังเกต รวมทั้งสิ้น 32 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสาร เพื่อการทำงาน เพื่อ ความบันเทิง และเพื่อค้นหาข้อมูล ซึ่งที่มาของการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและ ปัจจัยทางสังคม โดยที่ปัจจัยทางสังคมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน และบุคคลรอบข้าง ทั้งนี้ ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้สูงอายุใช้ส่วนใหญ่ คือ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ได้แก่ Line, Facebook โดยใช้เพื่อติดต่อสื่อสารเป็นหลัก และใช้สื่อประเภทฟอรั่ม (Forum) ในการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในประเด็นตามความสนใจของแต่ละบุคคล รวมทั้งใช้สื่อเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลจาก เว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะ Google.com นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังใช้สื่อเพื่อความบันเทิงอื่นๆ ไม่ว่าจะ เป็น YouTube, Instagram และแอพพลิเคชั่นต่างๆ Photo Grid, LINE Camera และ SIRI ประเภท ของข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เน้นข้อมูลสาระความรู้เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นข้อมูลข่าวสารด้านความบันเทิง ทั้งนี้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุนำไปสู่ การสร้างตัวตนที่หลากหลาย ได้แก่ ตัวตนของความเป็นคนทันสมัย ผู้ใฝ่รู้ ผู้สร้างความบันเทิง ผู้มี ความภูมิใจในตนเอง ผู้ให้คำปรึกษา และผู้ที่รู้จักปรับตัว รวมทั้งมีอัตลักษณ์ทางสังคมในการเป็นผู้ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (Media and Information Literacy) การเป็นผู้ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทางสังคมใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ยังส่งผลกระทบต่อการการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมThis study focused on behavior, self, identity and impact of using online media on the social media uses among older adults. Qualitative research methodology was used. Data were collected from older adults; 60 years old and over and living in Bangkok metropolitan area. The research methods included in-depth interviews with 16 participants, 2 focus group discussions and observations. The research findings showed that older adults used social media to communicate, work, entertain, and seek information. Their social media use had both personal and social factors. Their social media uses mostly influenced by people around, like friends and family. These people encouraged the elderly to use various forms of social media and join their social media networks. The popular type of social media like LINE and FACEBOOK were used among older adults for online communication and exchanging personal opinions on various online forums. Google.com was used for the searching of information from websites. Moreover, they used YouTube, Instagram and other applications like Photo Grid, LINE Camera, and SIRI for entertainment as well. Information on social media showed that older adults mostly focused on knowledge and entertainment. This study also found that the use of social media among older adults led them to form various new identities, such as being trendy, knowledge passionate, entertaining, self-pride and advisory. It also made them adaptive and mindful of their social identity. Attaining media and information literacy appropriate to the modern time reflected them as being a part of new social groups. However, social media behavior had both positive and negative impact on the older adult life including physical, mental, and social well beingก-ฌ, 233 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าสื่อสังคมออนไลน์สื่อมวลชนกับผู้สูงอายุอัตลักษณ์และประสบการณ์ของผู้สูงอายุในการใช้สื่อสังคมออนไลน์The idenitty and experiences of older adults in the use of social mediaMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล