ภัทร์ พลอยแหวนสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัยฐิติรัตน์ หงส์เชิดชูสกุล2024-01-162024-01-16255825672558วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92938รัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)การวิจัยเรื่อง การตลาดภาครัฐ สินค้าส่งเสริมสุขภาพในเขตดอนเมือง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพการดำเนินการด้านการตลาดภาครัฐด้วยเครื่องมือส่วนประสมทางการตลาด 4Cs ด้านสินค้าส่งเสริมสุขภาพ ห่วงออกกำลังกาย "จัมโบ้" ของสำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการด้านการตลาดภาครัฐด้วยเครื่องมือส่วนประสมทางการตลาด 4Cs ด้านสินค้าส่งเสริมสุขภาพ ห่วงออกกำลังกาย "จัมโบ้" ของสำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีวิจัยแบบผสานวิธีซึ่งเป็นการใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสำนักงานเขตดอนเมืองและบุคลากรภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการผลิตสินค้าส่งเสริมสุขภาพ ห่วงออกกำลังกาย จัมโบ้ จำนวน 210 คน และวิเคราะห์ด้วย สถิติเชิงพรรณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 5 คน จากการศึกษา พบว่า การใช้การตลาดภาครัฐด้วยเครื่องมือส่วนประสมทางการตลาด 4Cs ในการดำเนินงานเกี่ยวกับสินค้าส่งเสริมสุขภาพของเขตดอนเมือง อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการใช้การตลาดภาครัฐในด้านความสะดวกสบายของลูกค้าหรือประชาชน มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความต้องการของลูกค้าหรือประชาชน ด้านการสื่อสารกับลูกค้าหรือประชาชน และ ด้านค่าใช้จ่ายของลูกค้าหรือประชาชน ตามลำดับ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการใช้การตลาดภาครัฐในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าสุขภาพภายใต้นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือ เจ้าหน้าที่รัฐขาดความรู้ความเข้าใจหลักการตลาดภาครัฐด้วยเครื่องมือส่วนประสมทางการตลาด 4Cs ปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบราชการแบบเดิม และปัญหาด้านการดำเนินนโยบายอย่างขาดความต่อเนื่องThis study aimed to study the implementation of public marketing 4Cs of Don Muang District, Bangkok, in healthy product management policy, and to pursue problems and obstacles in public marketing 4Cs usage through a healthy product management policy of Don Muang District, Bangkok. Methodology of the study is a mixed method which is a combination of quantitative and qualitative research. One of the research tools is a questionnaire used for collecting data from all 210 people working related to the health product management policy of Don Muang District, Bangkok. Data is analyzed by descriptive statistics consisting of percentage, frequency, mean, and standard deviation. Another tool is in-depth interviews used with the target group, 5 people working directly in health product management policy of Don Muang District, Bangkok. The implementation of public marketing 4Cs of Don Muang District, Bangkok, in a healthy product management policy is at a moderate level. The main part that people are satisfied with is convenience, followed by customer satisfaction, communication, and customer cost, respectively. In the aspect of problem and obstacle, lack of knowledge, traditional structure of bureaucracy, and discontinuity of policy implementation, are three main points which public marketing 4Cs orientation faces.ก-ญ, 147 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการตลาดเพื่อสังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯตลาด -- การจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพ -- ไทย -- กรุงเทพฯการตลาดภาครัฐ สินค้าส่งเสริมสุขภาพในเขตดอนเมืองMarketing in the public sector : a case study of healthy product management policy of Donmuang distric officeMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล