ภาวรัตน์ ผาสุกสถาพรกนิษฐา จำรูญสวัสดิ์สุธรรม นันทมงคลชัยศุภชัย ปิติกุลตังKanittha ChamroonsawasdiSutham NanthamongkolchaiSupachai Pitikultangมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว2015-04-222017-06-302015-04-222017-06-302015-04-222553วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 40, ฉบับที่ 1 (2553), 29-390125-1678https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2494การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-16 ปี จำนวน 460 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่น ร้อยละ 56.3 มีคุณภาพชีวิตในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value < 0.05) กับคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์ ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา รายได้ของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย สัมพันธภาพในครอบครัว สิ่งแวดล้อมในชุมชน การเป็นที่ยอมรับของคุณครู/เพื่อน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน/ชุมชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลและสามารถคาดทำนายคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ สัมพันธภาพในครอบครัว การเป็นที่ยอมรับของคุณครู/เพื่อน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สิ่งแวดล้อมในชุมชน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน/ชุมชน โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 49.1 ผลการศึกษาเสนอแนะให้หน่วยงานสาธารณสุขให้ความรู้กับครอบครัวในการพัฒนาความ ฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นA Cross Sectional Survey study was conducted aiming at identifying influencing factors for predicting quality of life among early adolescents in Samutprakarn Province. Total 460 adolescences aged between 12-16 years old were selected using multiple stage sampling technique. Data were collected through self-administered questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics, percentage, mean-standard deviation, t-test, one-way ANOVA, Pearson product Moment Correlation Coefficient and Stepwise multiple regression analysis. The results revealed that 56.3% of the sample had good quality of life whereas 43.7% maintained quality of life at moderate level. Factors with statistical significance (p-value < 0.05) associated with early adolescence quality of life were consisted of GPA, emotional quotient, father’s and mather’s educational level, family income, democratic parental style, family relationship, community environment, acceptance from teacher and friends, and participation in school and community activities. Whereas emotional quotient, good family relationship, acceptance from teacher and friends, high GPA, positive community environment, democratic parental style, and participation in school and a community activities altogether are able to predict adolescents’ quality of life correctly 49.1%. (Adjusted R2 = 0.491, p-value < 0.003) Findings from this study recommended that public health institutions should provide knowledge on parental preparedness and child emotional quotient development to promote their quality of life.thaมหาวิทยาลัยมหิดลคุณภาพชีวิตวัยรุ่นความฉลาดทางอารมณ์สัมพันธภาพในครอบครัวรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูQuality Of LifeAdolescentEmotional QuotientFamily RelationshipParental StyleOpen Access articleวารสารสาธารณสุขศาสตร์Journal of Public Healthปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสมุทรปราการFactors infl uencing on quality of life of early adolescents in Samutprakran ProvinceArticleมหาวิทยาลัยมหิดล