คมสันต์ เรืองคงมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์2022-07-182022-07-182565-07-182564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72181ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 45การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเครียดของ นักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ข้อมูลการดำเนินงาน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 - เดือนสิงหาคม 2564 จากสถานการณ์การแพร่ ระบาด COVID - 19 จึงได้ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความเครียด (ST-5) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำแนกประเภท ได้แก่ เพศ ชั้นปี เวลานอนหลับ และระดับความเครียด ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการสำรวจทั้ง 4 ครั้ง จำนวนคำตอบรวม 783 คำตอบ พบว่านักศึกษามี ความเครียดอยู่ในเกณฑ์เครียดมาก โดยเพศหญิงจะมีความเครียดมากกว่าเพศ ชาย ในด้านคำตอบของความเครียดพบว่า ความคิดเห็น สอบเยอะ งานเยอะ และอ่านหนังสือไม่ทันมากที่สุด รองลงมา เหนื่อยและบริหารเวลาไม่ดี เรียน ออนไลน์อยู่บ้านน่าเบื่อมากและอยากเจอเพื่อน เครียดกับการเรียนและการ สอบ อยากมีเวลาพักผ่อนให้เยอะกว่านี้หรือการนอน ในด้านคำตอบของเวลา นอนหลับพบว่า ช่วงเรียนปกตินักศึกษามีเวลาการนอนหลับที่เพียงพอ 6 – 7 ชั่วโมง ช่วงเวลาสอบนักศึกษาจะมีเวลาหลับที่น้อยลง ต่ำกว่า 6 ชั่วโมงthaมหาวิทยาลัยมหิดลความเครียดของนักศึกษาแบบประเมินความเครียด (ST–5)เวลานอนหลับของนักศึกษาMahidol Quality Fairผลการสารวจระดับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2563 - 2564Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล