เพ็ญศิริ พุ่มหิรัญพิชญา ธัญภัทรกุลยุพยงค์ มิ่งโอโลวิชญา ศุภโอภาสพันธุ์Pensiri poomhirunPichaya ThanyaphattarakunYupayong MingoloWitchaya Supaopaspanมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา2022-09-302022-09-302565-09-302564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79788ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 144การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากห้องพักฟื้นนั้นสามารถใช้หลักเกณฑ์ได้ 2 แบบคือ 1) การใช้ลักษณะความพร้อมทางกายภาพเป็นตัวชี้วัด (Criteria Based Discharge; CBD) 2) การใช้เวลาเป็นตัวกำหนด (Time Based Discharge; TBD) ซึ่งนโยบายของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ป่วยจะต้องครบทั้ง CBD และครบทั้ง TBD คือเวลา 1 ชั่วโมง ดังนั้นในห้องพักฟื้นของห้องผ่าตัด ตาบางวันจะมีผู้ป่วยจำนวนมากสุดถึง 25 รายต่อวัน จึงเกิดปัญหาจำนวนเตียง ในห้องพักฟื้นไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตอาการ ในห้องพักฟื้นจนครบ 1 ชั่วโมง ถึงแม้จะฟื้นตัวดีและครบ CBD แล้วก็ตาม หลายการศึกษาก่อนหน้าพบว่าการใช้ CBD สามารถลดระยะเวลาการพักใน ห้องพักฟื้นได้เมื่อเทียบกับการใช้ TBD และมีความปลอดภัย การศึกษานี้ จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อหาเวลาเฉลี่ยในห้องพักฟื้นของผู้ป่วยที่ครบ CBD เพื่อนำมา เปรียบเทียบกับ TBD ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และยังต้องการหาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วย มีการฟื้นตัวช้า รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างพักฟื้นอีกด้วยthaมหาวิทยาลัยมหิดลเกณฑ์จำหน่ายจากห้องพักฟื้นการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเด็กฟื้นตัวช้าMahidol Quality Fairระยะเวลาการเฝ้าระวังและสังเกตอาการในห้องพักฟื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มารับการระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจตาแบบผู้ป่วยนอกProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล