ศิริกาญจนา ศิรินนทร์ณัชฐ์ธพงศ์ เพชรอำไพมหาวิทยาลัยมหิดล. โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์2022-07-302022-07-302565-07-302564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72874ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 59การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากอุบัติภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โดยพัฒนาระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้สอดคล้องกับประเภทของงาน เก็บข้อมูลความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยที่มีโอกาสทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายในการทำงานจากอาจารย์ 10 คน, นักศึกษา 40 คน, ผู้ช่วยนักวิจัย 5 คน และนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ก่อน จัดทำมาตรฐานเปรียบเทียบกับหลังจัดทำมาตรฐาน เก็บข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2561-สิงหาคม 2564 ผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงสูงสุดเกิดจากอุปกรณ์เครื่องแก้ว โดยค่าเฉลี่ยก่อนปรับปรุงของนักศึกษา, อาจารย์, ผู้ช่วยนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 20 (สูงมาก), 16 (สูง), 16(สูง), 8(ปานกลาง) ตามลำดับ หลังปรับปรุงค่าเฉลี่ยลดลงเท่ากับ 8 (ปานกลาง), 4(ต่ำ), 4(ต่ำ), 4(ต่ำ) ตามลำดับ โดยทุกปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายในการทำงานหลังปรับปรุง พบว่า ค่าความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติภัยลดน้อยลงแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานมีความเสี่ยงสูงคือการทำงานในห้องปฏิบัติการที่ไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยthaมหาวิทยาลัยมหิดลความเสี่ยงมาตรฐานห้องปฏิบัติการผู้ปฏิบัติงานMahidol Quality Fairปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติภัยและการสูญเสียในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (MUNA Central Lab) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดลProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล