เฉลิมพล แจ่มจันทร์มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-262017-10-252014-08-262017-10-252557-08-262555-09วารสารประชากร. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (2555), 129-150.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2945บทความทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประเด็นความคิดในสังคมไทยเกี่ยวกับข้อพิจารณาในการปรับเปลี่ยนมุมมองและมโนทัศน์ใหม่ต่อ 1) การให้ความหมายและการกำหนดนิยามผู้สูงอายุไทยซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์อายุตามปีปฎิทินที่ 60 ปีขึ้นไป และ 2) กำหนดอายุเกษียณของแรงงานไทย ทั้งอายุเกษียณที่เป็นทางการของคนทำงานภาครัฐที่อายุ 60 ปี และอายุเกษียณของภาคเอกชนซึ่งไม่มีกำหนดตายตัว แต่เกี่ยวพันกับกำหนด อายุที่เกิดสิทธิ กรณีชราภาพของระบบประกันสังคมซึ่งกำหนดที่อายุ 55 ปี ขึ้นไป ภายใต้วัตถุประสงค์ข้างต้น การนำเสนอประกอบด้วยข้อมูลและบทวิเคราะห์จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การกำหนดนิยามความเป็นผู้สูงอายุของบุคคล การกำหนดอายุเกษียณในมุมมองเชิงวิชาการและในทางปฏิบัติ สถานการณ์ผู้สูงอายุและการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลกระทบจากการสูงวัยของประชากรที่จะมีต่อเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม ซึ่งทั้งหมด ในท้ายที่สุดนำไปสู่ประเด็นข้อพิจารณาเกี่ยวกับมโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุและอายุเกษียณ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน และจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุthaมหาวิทยาลัยมหิดลนิยามผู้สูงอายุอายุเกษียณผู้สูงอายุประเทศไทยข้อพิจารณามโนทัศน์ใหม่ของ “นิยามผู้สูงอายุ” และ “อายุเกษียณ” ในประเทศไทยIssues in considering the new concept of “the elderly’s definition” and “the age of retirement” in ThailandArticle