นุชจรีย์ หมื่นนรินทร์ชวลิต วโรดมรังสิมันต์ธวัช เพชรไทยNutjaree MuennarinChaowalit WarodomrungsimunTawach Prechthaiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม2021-09-252021-09-252564-09-252562วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 49, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 19-312697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63666วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาศักยภาพ การชะละลายของโลหะหนักและความเป็นพิษของ ตะกอนดินในบ่อบำบัดน้ำชะขยะจากสถานที่กำจัด มูลฝอยชุมชน 4 แห่งในประเทศไทย ลักษณะทาง กายภาพและเคมีของตะกอนดินถูกวิเคราะห์ในห้อง ปฏิบัติการ ขณะที่การชะละลายของโลหะหนัก ในตะกอนดินถูกทดสอบโดยวิธี Waste Extraction Test (WET) นอกจากนี้ มีการทดสอบการงอกของ เมล็ดพืชโดยใช้เมล็ดผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) เพื่อประเมินความเป็นพิษของตะกอนดิน ผลการศึกษา พบความเข้มข้นของเหล็กในตะกอนดินและสารสกัด ของตะกอนดินจากพื้นที่ศึกษาทั้ง 4 แห่ง มีค่าสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับแมงกานีส สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว และนิกเกิล อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของสังกะสี ทองแดง ตะกั่วและนิกเกิลในสารสกัดมีค่าต่ำกว่าระดับ Soluble Threshold Limit Concentration (STLC) ของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย ซึ่งนิกเกิลและตะกั่ว พบว่า มีอัตราการชะละลาย จากตะกอนดินสูงกว่าเหล็ก แมงกานีส สังกะสีและ ทองแดง ผลการศึกษายังพบความเป็นพิษของสารสกัด จากตะกอนดินต่อการงอกของเมล็ดผักกาดหอม การศึกษานี้ อาจใช้เป็นแนวทางในการกำาหนดเทคโนโลยี และมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการตะกอนดิน จากระบบบำบัดน้ำชะขยะThe objective of this study was to determine the leaching potential of heavy metals and toxicity of sediment in leachate treatment ponds of 4 municipal solid waste (MSW) disposal sites in Thailand. The physical and chemical characteristics of sediment were analyzed in the laboratory. Further, the leaching potential of heavy metals in sediment was measured using the Waste Extraction Test (WET). In addition, seed germination test using lettuce (Lactuca sativa L.) was used to evaluate the toxicity of the sediment. The results revealed that concentration of iron in sediment and extracted solution of sediment from the 4 study sites was highest compared with manganese, zinc, copper, lead and nickel. However, the concentrations of zinc, copper, lead and nickel in the extracted solution were lower than the Soluble Threshold Limit Concentration (STLC) for sewage and unused materials to be classifi ed as hazardous waste. Nickel and lead in sediment exhibited a higher leaching rate than lead, manganese, zinc and copper. The result of study also showed the toxicity of extracted solution from sediment to the germination rate of lettuce. The result of study may be used to identify appropriate technologies and management measures for sediment from leachate treatment ponds.thaมหาวิทยาลัยมหิดลตะกอนดินบ่อบำบัดน้ำเสียขยะชุมชนโลหะหนักศักยภาพการชะละลายความเป็นพิษsediment,leachate treatment pondmunicipal solid wasteheavy metalsleaching potentialtoxicityศักยภาพการชะละลายของโลหะหนักและความเป็นพิษของตะกอนดิน จากระบบบำบัดน้ำชะขยะในสถานที่ฝังกลบขยะชุมชนLeaching Potential of Heavy Metals and Toxicity of Sediment in Leachate Treatment Ponds of Municipal Solid Waste Disposal SitesOriginal Articleภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล