วราภรณ์ พานิชปฐมอรวมน ศรียุกตศุทธดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศฉัตรกนก ทุมวิภาตVaraporn PanichpathomAurawamon SriyuktasuthDoungrut WattanakitkrileartChatkanok Dumavibhatมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีฯ2019-11-192019-11-192562-11-192562วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 37, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มี.ค. 2562), 73-85https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48030วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เก็บข้อมูลในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับยาวาร์ฟารินจำนวน 120 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดัชนีชี้วัดความซับซ้อนของแผนการใช้ยา แบบสอบถามความรู้เท่าทันทางสุขภาพ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สหสัมพันธ์แบบลำดับที่ของสเปียร์แมน และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกรายมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่ในระดับสูง (gif.latex?{\bar{X} = 5.76, SD = .25) แต่มีเพียง 45.8% ที่มีค่าไอเอนอาร์ (INR) อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ความซับซ้อนของแผนการใช้ยาวาร์ฟาริน ความรู้เท่าทันทางสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินได้ ร้อยละ 14 (R2 = .140, F(4,115) = 4.664, p = .002) และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยาวาร์ฟารินน้อย มีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินสูง (β = -.285, p = .002) สรุปและข้อเสนอแนะ: ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟารินแต่ยังคงมีความเสี่ยงต่อความผันแปรของค่า INR บุคลากรสุขภาพควรให้ความสนใจในการลดอุปสรรคของการรับประทานยาวาร์ฟาริน เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยาและคงค่าไอเอนอาร์ (INR) ให้อยู่ในช่วงการรักษาPurpose: To identify level of warfarin adherence and investigate factors associated with warfarin adherence in Thai patients with atrial fibrillation. Design: Correlational predictive study. Methods: This study was conducted at a university hospital in Thailand. One-hundred twenty patients with non-valvular atrial fibrillation receiving warfarin were recruited. Data were collected using Thai versions of Anticoagulation Measurement of Treatment Adherence Scale, Medication Regimen Complexity Index, Health Literacy Scale, and Beliefs about Oral Anticoagulation Survey. Descriptive statistics, Spearman’s correlation, and multiple linear regression analysis were applied to analyze the data. Main Findings: The findings indicated that all participants in this study had high warfarin adherence (gif.latex?\bar{X} = 5.76, SD = .25). However, only 45.8% of them could maintain International Normalized Ratio (INR) within the therapeutic range. The complexity of a warfarin regimen, health literacy, perceived benefits and perceived barriers of taking warfarin jointly predicted 14% of the variance in warfarin adherence (R2 = .140, F(4,115) = 4.664, p = .002). Participants with lower perceived barriers had better warfarin adherence (β = -.285, p = .002). Conclusion and recommendations: Although all participants in this study adhered to warfarin, they still had risks of INR instability. Health care providers should pay more attention to decreasing barriers of taking warfarin to enhance warfarin adherence and maintaining INR within the target range.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วความร่วมมือในการรับประทานยายาวาร์ฟารินatrial fibrillationmedication adherencewarfarinวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceNursing Science Journal of Thailandความร่วมมือในการรับประทานยาวาร์ฟาริน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วWarfarin Adherence and Its Associated Factors among Patients with Atrial FibrillationArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล