ระวิรรณ แสงฉายกานดา วัฒโนภาสเจตน์สันต์ แตงสุวรรณอนงค์ ปริยานนท์สุวณี รักธรรมศุกรี สุวรรณจูฑะมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.2016-03-222021-09-202016-03-222021-09-202559-03-142531https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63624การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 3 13 - 15 มกราคม 2531 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2531. หน้า 11.จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อแสดงถึงอัตราอุบัติการและอัตราความชุกของโรค ความรุนแรงและระยะเวลาของการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในชุมชนที่มีเศรษฐานะต่ำ นอกจากนี้จะได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเกิดโรคนี้กับปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กอันประกอบไปด้วย น้ำหนักแรกคลอด สภาวะโภชนาการของเด็ก การได้รับภูมิคุ้มกันโรค สภาพแวดล้อมและสภาพครอบครัวของเด็ก เด็กที่ได้รับการดูแลเมื่อเริ่มโครงการมีจำนวน 332 คน ซึ่งเด็กแต่ละคนจะได้รับการเยี่ยมโดยอาสาสมัครชุมชนของโครงการ และการทำงานของอาสาสมัครจะต้องได้รับการตรวจและเยี่ยมซ้ำโดยผู้ดูแลอาสาสมัคร 4 คน ผลของการศึกษาพบว่าในปี 2529 ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไปลักษณะของอุบัติการของโรคจะสูงในเดือนมกราคม และจะลดต่ำลงในเดือนถัดไปคือเดือนกุมภาพันธ์และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อัตราอุบัติการสูงสุดคือ 77 ต่อประชากร 100 คนในเดือนธันวาคม และต่ำสุด 37 ต่อประชากร 100 คน ในเดือนเมษายน สำหรับจำนวนครั้งของการเกิดโรคจะพบมากในช่วงฤดูหนาวคือเกิดในเดือนธันวาคมสูงถึง 80 เดือนมกราคม 76 และ เดือนพฤศจิกายน 74 ต่อประชากร 100 คน ส่วนจำนวนครั้งของการเกิดโรคจะพบได้น้อยในช่วงฤดูร้อนคือเดือนกุมภาพันธ์เกิด 40 เมษายนเกิด 45 และเดือน มิถุนายนเกิด 44 ต่อประชากร 100 คน สำหรับจำนวนการเกิดโรคต่อเด็กแต่ละคนในแต่ละเดือนและจะพบมากเช่นกันในเดือนธันวาคม คือพบได้ 0.8 และพบน้อยในเดือนมิถุนายน เมษายนและกุมภาพันธ์ ซึ่งเท่ากับ 0.4, 0.5 และ 0.5 ตามลำดับthaมหาวิทยาลัยมหิดลความชุกของโรคดินแดงเด็กทางเดินหายใจโรคติดเชื้อการศึกษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ดินแดง กรุงเทพฯ. รายงานตอนที่ 2 : อัตราอุบัติการและอัตราความชุกของโรคในปี พ.ศ.2529Proceeding Abstract