ชาลิลา พรมทองพินิจ ปรีชานนท์ศราวรรณ ภววัฒนานุสรณ์ศรีสุวรรณ ชูกิจกานดา กาญจนโพธิ์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์2014-12-162017-12-082014-12-162017-12-082014-12-162551รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่14, (2551), 42-53https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3231การผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีจำนวนมากเป็นลำดับต้น ๆ ของการผ่าตัดทั่วไปทางศัลยกรรมพยาบาลห้องผ่าตัดมีบทบาทสำคัญคนหนึ่งที่จะต้องดูแลผู้ป่วยให้พร้อมรับการผ่าตัดทั้งร่างกาย จิตสังคม ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและไม่ทุกข์ทรมานจากความปวดในทุกระยะการผ่าตัดบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอขั้นตอนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการสืบค้นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมในทุกระยะของการผ่าตัดสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัด และได้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจความตรงตามเนื้อหา ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วย ที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมในห้องผ่าตัดศัลยกรรมซึ่งรับไว้รักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ป่วยที่ผ่าตัด มะเร็งเต้านมชนิด Modified Radical Mastectomy: MRm ทุกราย จำนวน 11 ราย ได้นำแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ใน pre-operative visit ก่อนผ่าตัด 1 วัน ขณะผ่าตัด และห้องพักฟื้น รวมไปถึง post-operative visit หลังผ่าตัด 1 วันและลงบันทึกไว้ ผลการศึกษาทั้ง 11 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากผลการปฏิบัติของพยาบาลในห้องผ่าตัด เช่น อาการปวดหรือชาจากการบาดเจ็บของ brachial nrve สิ่งตกค้างในแผลผ่าตัด เป็นต้น และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัด ระดับมาก ร้อยละ 90.90 ระดับปานกลาง ร้อยละ 9.10thaมหาวิทยาลัยมหิดลแนวปฏิบัติการพยาบาลการผ่าตัดมะเร็งเต้านมหลักฐานเชิงประจักษ์Clinical nursing practice guidelinesMastectomyEvidence-based approachPatient satisfactionรามาธิบดีพยาบาลสารความพึงพอใจของผู้ป่วยRamathibodi Nursing Journalการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดResearch Article