วชิราภรณ์ เพชรแก้วสมชาติ โตรักษาช่อเพียว เตโชฬารWacheraporn PatchkeawSomchart TorugsaChorpeow Taecholarnมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข2021-05-072021-05-072564-05-072563วารสารกฎหมายสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 6, ฉบับเพิ่มเติม (ก.ค.-ธ.ค. 2563), S111-S1262697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62105การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง การทดลอง นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย (R2R) ของโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน โดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ และ เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน R2R ของโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ระหว่าง ก่อน กับ หลัง การนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มาดำเนินการ นำไปทดลองที่ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ระหว่าง 1 สิงหาคม 2560 ถึง 17 มกราคม 2561 ประชากร คือ การดำเนินงาน R2R ของบุคลากร โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน รวม 6 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร 3 คน ผู้ให้บริการ 3 คน ผู้รับบริการ 6 คน ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้เป็น Intervention คือ รูปแบบใหม่ของงาน R2R และ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการดำเนินงานของการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่วิจัย, แบบบันทึกข้อมูลผู้ให้บริการงาน R2R, แบบบันทึกเหตุการณ์ที่มีผล ต่อการปฏิบัติงาน R2R แบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการงาน R2R แบบสังเกตุการปฏิบัติงาน และ สิ่งที่มีผลต่อ การปฏิบัติงาน R2R, แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร, แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ และ กล้องถ่ายรูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ การวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า หลังการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมาดำเนินการ อัตราปริมาณงานเฉลี่ยของผลงาน R2R ต่อ บุคลากร 1 คน เท่าเดิม, อัตราคุณภาพของผลงาน R2R เพิ่มขึ้น, ระยะเวลาและแรงงานเฉลี่ยที่ใช้ใน การดำเนินงาน R2R เพิ่มขึ้น, อัตราความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้บริหาร ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ เพิ่มขึ้น ตามลำดับ, ต้นทุนรวม และต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น, ผลได้ เพิ่มขึ้น, ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน R2R สูงขึ้น, และมีความคุ้มค่าในการลงทุนดำเนินงาน R2R สรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบใหม่ที่ดี เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ที่มีข้อจำกัดของทรัพยากร และมีปริมาณงานที่ต้องทำ มาก เสนอแนะให้ พัฒนาต่อไปจนเป็นตัวแบบของโรงพยาบาลในเครือ Not for Profit และประเทศThis experimental development research, had these objectives: 1) to develop a routine to research model at Bangkok Christian Hospital, using existing resources; (2) to compare results of pre- and post- one group, implementation design. This study was conducted at Bangkok Christian Hospital, between August 1 , 2017 and January 1 7 , 2018. Samples were 6 personnel, who conducted R2R working model. Satisfaction questionnaire respondents were 3 administrators, 3 service-providers, and 6 service receivers. Research tools included the following: routine-to-research working model, basic data record form, service provider information, event record form, and satisfaction questionnaire. Data analysis and statistical methods used were descriptive statistics and content analysis. Results indicated that after implementation of R2R working model, the ratio of average work load and 1 worker remained the same, but work quality increased, while average time and labor force consumed increased. Average satisfaction rate of administrators, service-providers, and service receiver increased when implemented R2R. Total cost and unit also cost increased. Conclusion was that developed working model was a good working model and appropriate for the context of Bangkok Christian Hospital, with limited resources. Recommendation was to improve the model to be a role model for other non-profit hospitals.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัยการพัฒนารูปแบบRoutine to researchmodel developmentการพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนA development of Routine to Research in Bangkok Christian HospitalArticleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล