Mahidol University's Institutional Repository

คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล

"Wisdom Repository You Discover"

To collect Mahidol University's academic publications and intellectual properties more than 39 faculties

To present over 50,000 items of information in digital formats

To make it easy to access to all information at anytime, anywhere

 

Recent Submissions

Item
Stay Alert! No Drug Abuse
(2564) Patama Tapchaisri; Patchanee Intaracha; ปฐมา เทพชัยศรี; พัชนี อินทราชา
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (high alert drug) หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงที่ อาจจะเกิดอันตรายกับผู้ป่วยเมื่อเกิดการใช้ผิดพลาด แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำ ให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงได้ เป็นกลุ่มยาที่ต้อง ระมัดระวังในการใช้ อนุกรรรมการยาที่มีความเสี่ยงสูงและยาเสพติด คณะ เวชศาสตร์เขตร้อน ได้กำหนดรายการยาที่มีความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาล เวชศาสตร์เขตร้อนไว้จำนวน 13 รายการ ซึ่งยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีแนวทางใน การบริหารยา การตรวจสอบก่อนจ่ายยา กระบวนการให้ยาแก่ผู้ป่วย และการ ติดตามผู้ป่วยหลังจากให้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งผู้จัดทาโครงการนี้ ได้พัฒนาระบบ การบริหารจัดการยาเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนขึ้นใหม่ เพื่อให้ บุคลากรทางการแพทย์มีแนวทางในการบริหารยาที่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้ สามารถลดอัตราการเกิดข้อผิดพลาดในการใช้ยาได้ จากเดิมพบอุบัติการณ์ ข้อผิดพลาดในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง ประมาณ 3 ครั้งต่อปี ซึ่งพบว่า หลังจากพัฒนาแล้ว อัตราการเกิดอุบัติการณ์ข้อผิดพลาดในการบริหารยากลุ่ม นี้เป็น 0
Item
Safety urine bag
(2564) เบญจวรรณ เสวตรพยัคฆ์; นัทธมน พันธุ์วิหก; อามิตรา ปาปะโน; ขนิษฐดา ศรีจันทร์; Benjawan Sawetpayak; Nuttamon Phunvihuk; Armitra Papano; Khanitthada Srichan
หอผู้ป่วยให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคศัลยศาสตร์ หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะ ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ เพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือด มีการแขวน ถุงปัสสาวะไว้ที่ข้างเตียง แต่แนวปฏิบัติในการป้องกัน Fall จำเป็นต้องปรับ เตียงต่ำสุด ทำให้ส่วนล่างของถุงปัสสาวะสัมผัสพื้น มีโอกาสให้เกิดการติดเชื้อ ในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ร่วมกับเมื่อผู้ป่วยออกมา Ambulate นอกห้อง แล้วไม่มีอุปกรณ์สำหรับแขวนถุงปัสสาวะที่จุดนั่งพัก ทำให้ผู้ป่วยมักวางถุง ปัสสาวะไว้บนพื้นโดยไม่มีอุปกรณ์รองรับ จากปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ Safety Urine bag เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงปัสสาวะสัมผัสพื้น และเพื่อความ สะดวกปลอดภัยเมื่อผู้ป่วยออกมา Ambulate นอกห้อง เนื่องจาก Safety Urine bag มีหูหิ้วและฐานรองรับด้านล่างของถุงที่แข็งแรงพอ ผู้ป่วยสามารถ วางถุงตั้งบนพื้นได้โดยถุงไม่ล้ม และยังช่วยป้องกันถุงปัสสาวะแตกหรือรั่วจาก การกระทบกระทั่งอุปกรณ์หรือของใช้ต่าง ๆ นอกจากนี้ Safety Urine bag ยังช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจเนื่องจากถุงมีสีทึบ สามารถปิดบังปัสสาวะที่ ผู้ป่วยมักไม่ต้องการให้ผู้อื่นมองเห็น
Item
Safety & Save cost
(2564) ภัทรพร พรมแดง; กิตติยา เที่ยงจิตร์; ฐิติพันธุ์ จันทเขต; สุรีรัตน์ นิพัทธโสภณ; กนกวรรณ พิมพา
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานของร่างกายลดลง จึง จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีน เพิ่มมากขึ้น แต่ขาดการเก็บข้อมูลประวัติวัคซีนที่ผู้ป่วยได้รับอย่างเป็นระบบ ทำให้การทบทวนประวัติวัคซีนทำได้ยาก ใช้เวลานาน เกิดปัญหาผู้ป่วยได้รับ วัคซีนซ้ำซ้อน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็นโครงการ “Safety & Save cost (วัคซีนสูงวัย ไม่ฉีดซ้ำซ้อน ไม่สิ้นเปลืองเงินทอง สืบค้นทันใจ)” เกิดจากความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ มุ่งผลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีน อย่างเหมาะสม ป้องกันปัญหาการได้รับวัคซีนซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น โดย พยาบาลและเภสัชกรร่วมกันทบทวนประวัติวัคซีนของผู้ป่วยคลินิกผู้สูงอายุ ล่วงหน้าก่อนถึงวันตรวจ จัดทำฐานข้อมูลรวบรวมประวัติการได้รับวัคซีน และ พัฒนา Web Application สำหรับสืบค้นประวัติวัคซีนของผู้ป่วยคลินิก ผู้สูงอายุ จากผลการดำเนินงานพบว่าสามารถลดปัญหาการได้รับวัคซีนซ้ำซ้อน ของผู้ป่วยได้ สามารถลดปัญหาผู้ป่วยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจากการได้รับวัคซีน เกินความจำเป็น ช่วยอำนวยความสะดวกและลดเวลาทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงาน ในการสืบค้น/ทบทวนประวัติวัคซีนของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
Item
Suction สู้โควิด-19
(2564) ณัฐวิชช์ วงษ์ฮ้อเจริญ; ปฐมพงษ์ แสงพันธ์; สิทธพร หาพร
ผลงานนี้จัดทeขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการดูดน้ำลาย (Suction) ของยูนิตทันตกรรม จากปัญหาที่ได้รับแจ้งจากคลินิก เรื่องระบบ การดูดน้ำลาย พบว่า ขณะใช้งานระบบการดูดน้ำลายมีแรงดูดเบาส่งผล กระทบต่อการทำหัตถการ เนื่องจาก Suction ที่ใช้งานในปัจจุบันเป็นแบบ Air Suction (ใช้ลมทำให้เกิดแรงดูด) ที่เชื่อมต่อกับหัวดูด High Power Suction ทำหน้าที่ในการดูดละอองฝอยที่ฟุ้งกระจายภายในช่องปากขณะกรอ ฟัน และหัวดูด Saliva Ejector ทำหน้าที่ในการดูดน้ำลายและของเหลว ภายในช่องปาก เมื่อมีการใช้งาน 2 หัวดูดพร้อมกันส่งผลให้แรงดูดของหัวดูด ทั้ง 2 หัวมีแรงดูดเบา ทำให้มีนำ้ลายตกค้างในช่องปากที่เป็นอุปสรรคต่อการ ทำหัตถการของทันตแพทย์ หน่วยซ่อมบำรุงจึงได้หาแนวทางการเพิ่ม ประสิทธิภาพแรงดูดของ Suction จึงได้นำชุด Motor Suction ของคลินิกที่ รอจำหน่ายกลับมาใช้ โดยทำการดัดแปลงติดตั้งหัวดูด High Power Suction กับชุด Motor Suction ส่วนหัวดูด Saliva Ejector ต่อกับ Air Suction เดิม ทำให้หัวดูดทั้ง 2 หัว แยก motor ใช้งาน เป็นอิสระจากกัน ผลการทดลอง พบว่า การดัดแปลงดังกล่าว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ Suction ได้
Item
SUPER ET25
(2564) วรารัตน์ อาจวิชัย; ศิริวรรณ จินดาโชติ; Wararat Artwichai; Siriwan Jindachot
คลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์ให้บริการทันตกรรมในงานเฉพาะทางรักษา คลองรากฟัน ซึ่งมีงานทันตกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น คลองรากฟันตีบตัน รื้อเครื่องมือหักในคลองรากฟัน ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง Ultrasonic และหัว ET25 ที่เป็นเครื่องมือที่มีปลายแหลมและขนาดเล็กหักง่าย จึงทำให้ ประสบปัญหาหัว ET25 หักระหว่างการใช้งาน ซึ่งหัว ET25 มีราคาสูงจึงทำให้ เกิดการสิ้นเปลือง ทางคลินิกวิทยาเอ็นโดดอนต์จึงได้หาแนวทางนาหัว ET25 ที่หักมาดัดแปลงปรับปรุง และสามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ ผลการดำเนินการ พบว่าช่วยลดต้นทุนการจัดซื้อหัว ET25 ของคลินิก และทันตแพทย์พึงพอใจใน ประสิทธิภาพการใช้งานเทียบเท่าหัว ET25 ที่จัดซื้อจากบริษัท