Publication: Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal
Issued Date
2017
Resource Type
Language
eng
ISSN
1905-1387
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
ASEAN Institute for Health Development Mahidol University
Bibliographic Citation
Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.3 (Sep-Dec 2017), 51-64
Suggested Citation
Pradeep GC, Sariyamon Tiraphat, Jiraporn Chompikul, ประดีพ จีซี, ศริยามน ติรพัฒน์, จิราพร ชมพิกุล Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal. Journal of Public Health and Development. Vol. 15, No.3 (Sep-Dec 2017), 51-64. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62163
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอบัลกุง ประเทศเนปาล
Other Contributor(s)
Abstract
This community based cross-sectional study was conducted to investigate the factors associated with
quality of life among the elderly in Baglung district, Nepal. The sample size was 403 elderly selected
by multi-stage cluster sampling from Baglung district. The data were collected by face to face interview
using structured questionnaires. The outcome variable was the World Health Organization Quality of Life
(WHOQOL-BREF), while independent variables included socio-demographic factors and neighbourhood
social and environmental factors. Descriptive statistics were used to describe the characteristics of the sample.
Chi-square test and multiple logistic regressions were used to determine the association between independent
variables and quality of life among the elderly.
The finding showed that approximately half of the elderly (51.1%) had high quality of life. Factors
associated with the quality of life included age, gender, marital status, religious, family structure, social capital,
neighbourhood aesthetic and crime. After adjusting other factors, high quality of life was detected among
the elderly who were perceived high neighbourhood social capital (Adj OR = 2.52, 95% CI = 1.48-4.29),
perceived high neighbourhood aesthetic (Adj OR = 3.16, 95% CI = 1.91-5.23) and perceived low crime
(Adj OR = 3.94, 95% CI = 2.31-6.72) in neighbourhood comparing to their counterparts.
From the results of this study, interventions that can promote active aging, such as designing of
age-friendly public spaces and pleasant social environments should be considered. Moreover, policy to
improve quality of life towards the elderly should be seriously implemented.
การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบ ภาคตัดขวางเก็บข้อมูลในชุมชนเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในอำเภอ บัลกุง ประเทศเนปาล ผู้สูงอายุจำนวน 403 คนได้รับเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน ตัวแปรตามคือคุณภาพชีวิตตามหลักขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF) ในขณะที่ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและประชากรในระดับบุคคล และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่อาศัย สถิติเชิงพรรณนาใช้เพื่ออธิบายลักษณะของตัวอย่าง การทดสอบไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณใช้เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุประมาณครึ่ง (51.1%) มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ศาสนา โครงสร้างครอบครัว ทุนทางสังคมในชุมชน ความเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน และอาชญากรรมในชุมชน เมื่อปรับด้วยอิทธิพลของปัจจัยอื่นแล้ว คุณภาพชีวิตที่ดีพบในกลุ่มผู้สูงอายุที่รับรู้ถึงแหล่งทุนทางสังคมในชุมชนสูง (Adj OR = 2.52, 95% CI = 1.48-4.29) ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่าชุมชนมีความเป็นระเบียบสวยงาม (Adj OR = 3.16, 95% CI = 1.91-5.23) และรู้สึกว่าการเกิดอาชญากรรมในชุมชนต่ำ (Adj OR = 3.94, 95% CI = 2.31-6.72) เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่รับรู้ถึงแหล่งทุนทางสังคมในชุมชนต่ำ ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่าชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบสวยงาม และรู้สึกว่าการเกิดอาชญากรรมในชุมชนสูง จากผลของการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่น่ารื่นรมย์ควรต้องได้รับการพิจารณาเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีศักยภาพในการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นนโยบายที่เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงวัยควรถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง
การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบ ภาคตัดขวางเก็บข้อมูลในชุมชนเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในอำเภอ บัลกุง ประเทศเนปาล ผู้สูงอายุจำนวน 403 คนได้รับเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน ตัวแปรตามคือคุณภาพชีวิตตามหลักขององค์การอนามัยโลก (WHOQOL-BREF) ในขณะที่ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและประชากรในระดับบุคคล และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่อาศัย สถิติเชิงพรรณนาใช้เพื่ออธิบายลักษณะของตัวอย่าง การทดสอบไคสแควร์และการถดถอยลอจิสติกพหุคูณใช้เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุประมาณครึ่ง (51.1%) มีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส ศาสนา โครงสร้างครอบครัว ทุนทางสังคมในชุมชน ความเป็นระเบียบสวยงามในชุมชน และอาชญากรรมในชุมชน เมื่อปรับด้วยอิทธิพลของปัจจัยอื่นแล้ว คุณภาพชีวิตที่ดีพบในกลุ่มผู้สูงอายุที่รับรู้ถึงแหล่งทุนทางสังคมในชุมชนสูง (Adj OR = 2.52, 95% CI = 1.48-4.29) ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่าชุมชนมีความเป็นระเบียบสวยงาม (Adj OR = 3.16, 95% CI = 1.91-5.23) และรู้สึกว่าการเกิดอาชญากรรมในชุมชนต่ำ (Adj OR = 3.94, 95% CI = 2.31-6.72) เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุที่รับรู้ถึงแหล่งทุนทางสังคมในชุมชนต่ำ ผู้สูงอายุที่รู้สึกว่าชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบสวยงาม และรู้สึกว่าการเกิดอาชญากรรมในชุมชนสูง จากผลของการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่น่ารื่นรมย์ควรต้องได้รับการพิจารณาเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีศักยภาพในการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นนโยบายที่เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงวัยควรถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง