Browsing by Author "กนกวรรณ ปิยานุวัฒน์กุล"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Item Metadata only การยกระดับสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการกีฬาแห่งประเทศไทย(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) กนกวรรณ ปิยานุวัฒน์กุล; วรรณชลี โนริยา; พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์; ประเสริฐไชย สุขสอาดการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย (3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จำแนกตามปัจจัย ลักษณะส่วนบุคคล ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี โดยอาศัยแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมาร์ควอท ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 4 ท่าน และการเก็บแบบสอบถามกับพนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทย (ส่วนกลาง) จำนวน 253 คนแปรผลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe') อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ (1) สภาพการดำเนินงาน: กกท.ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์หลัก กำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สร้างค่านิยมร่วมกัน พัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงานแก่พนักงาน มอบอำนาจการตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างอิสระ ภายใต้ขอบเขตงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ บริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบตามแผนแม่บทฯ ดำเนินงานประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ ส่วนแนวทางสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ กำหนดนโยบาย และกิจกรรมที่ชัดเจน ผู้บริหารให้ความสำคัญ สร้างความร่วมมือร่วมใจ สื่อสารภายในอย่างทั่วถึง สนับสนุนงบประมาณ และเชื่อมโยงสู่ระบบการประเมินผล (2) สภาพความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการเพิ่มอำนาจแก่บุคคล และด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร ตามลำดับ ส่วนด้านการจัดการความรู้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3) การเปรียบเทียบสภาพความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยพบว่า พนักงานของการกีฬาแห่งประเทศไทยที่ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการวิจัย : ผู้บริหารต้องมีความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างจริงจัง ส่งเสริมให้พนักงานเห็นถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างทั่วถึง เพื่อให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายฯ สนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สร้างความร่วมมือร่วมใจ ให้รางวัลผลตอบแทน พัฒนาจิตสำนึก ให้ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการจัดการความรู้ สนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ มีการติดตามผลการดำเนินงาน และเชื่อมโยงสู่ระบบการประเมินผลอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร