Browsing by Author "ฐิติวรรณ บูรณะวิเชษฐกุล"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access สภาวะปริทันต์ของผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินในวัยหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่ง(2013-09) วาริธร โฆษิตภูมิเวท; Waritorn Kositpumivate; เพ็ญพรรณ เลาหพันธ์; Penpan Laohapand; ฐิติวรรณ บูรณะวิเชษฐกุล; Thitiwan Buranavichetkul; พรพรรณ์ สมบูรณ์; Pornpun Somboon; พรพรรณ์ สมบูรณ์; Pornpun Somboon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา.วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบสภาวะอนามัยช่องปากและสภาวะปริทันต์ของนักศึกษาที่ บกพร่องและที่ไม่บกพร่องทางการได้ยิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: ศึกษาในนักศึกษาวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีและไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 97 และ 83 คนตามลำดับ เก็บข้อมูล ส่วนบุคคล และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง ผู้ ตรวจที่ผ่านการปรับมาตรฐานแล้วเพียงคนเดียวทำการตรวจช่องปากโดยใช้คะแนน คราบจุลินทรีย์ (ร้อยละของตำแหน่งที่มีคราบจุลินทรีย์) และดัชนีซีพีไอ จำแนกสภาวะ อนามัยช่องปากตามคะแนนคราบจุลินทรีย์ดังนี้ น้อยกว่าร้อยละ 20-ดี, ร้อยละ 20 ถึง 40-พอใช้ และมากกว่าร้อยละ 40-ไม่ดี จำแนกสภาวะปริทันต์โดยใช้คะแนนดัชนีซี พีไอสูงสุดของช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบของแมน-วิทเนย์ ยู และการ ทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา: นักศึกษาที่บกพร่องทางการได้ยินมีคะแนนคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยสูงกว่า นักศึกษาที่ไม่บกพร่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามพบว่าสัดส่วน ของนักศึกษาที่มีอนามัยช่องปากไม่ดีในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษาทั้งสองกลุ่มเป็นโรคปริทันต์ร้อยละ 100 สัดส่วนของนักศึกษาที่มีร่องลึกปริทันต์ ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไปในกลุ่มที่บกพร่องทางการยินสูงกว่าในกลุ่มที่ไม่บกพร่องอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (55.7% เปรียบเทียบกับ 24.1%, p<0.001) และมักจะพบร่องลึก ปริทันต์ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไปได้บ่อยในนักศึกษาที่มีอนามัยช่องปากไม่ดีของทั้งสองกลุ่ม บทสรุป: นักศึกษาที่บกพร่องและที่ไม่บกพร่องทางการได้ยินจำนวนมากมีอนามัยช่องปาก ไม่ดี นักศึกษาทุกคนของทั้งสองกลุ่มเป็นโรคปริทันต์ แต่จะพบสภาวะที่มีร่องลึกปริทันต์ได้ ในกลุ่มที่บกพร่องทางการได้ยินมากกว่าในกลุ่มที่ไม่บกพร่อง