Browsing by Author "ดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์"
Now showing 1 - 3 of 3
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access การส่งปรึกษาจากเวชศาสตร์ครอบครัวถึงแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหาร: ความสอดคล้องของการวินิจฉัยและความเหมาะสมของการส่งปรึกษา(2558) แสงศุลี ธรรมไกรสร; ดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์; สายสุนีย์ ทับทิมเทศ; ธราธิป พุ่มกำพล; สาลิกา สมศรี; Sangsulee Thamakaison; Dumrongrat Lertrattananon; Saisunee Tubtimtes; Taratip Pumkompol; Salika Somsri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ความเป็นมา: ความเหมาะสมของการส่งปรึกษาและการส่งกลับระหว่างเวชศาสตร์ปฐมภูมิถึงแพทย์เฉพาะทางเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพในการดูแลผู้ป่วย สำหรับคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มีการส่งต่อผู้ป่วยถึงแผนกอายุรกรรมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหารนับเป็นหน่วยที่มีสถิติการส่งปรึกษาสูงที่สุด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงความเหมาะสมและคุณภาพในการส่งปรึกษาผู้ป่วยระหว่างแผนกดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเหมาะสมและคุณภาพของการส่งต่อผู้ป่วยจากเวชศาสตร์ครอบครัวถึงแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหาร ในด้านเหตุผลและกระบวนการส่งต่อ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างแพทย์และการดูแลต่อเนื่องที่ผู้ป่วยได้รับ วิธีวิจัย: การวิจัยแบบ Cross-sectional descriptive study โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ถูกส่งจากแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวไปยังแผนกอายุรกรรม ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 - 31 ธันวาคม 2553 โดยทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 483 ราย (ร้อยละ 17.8) จาก 2,714 ราย โดยวิธี simple random sampling โดยสาขาที่ส่งปรึกษาสูงสุดเป็นจำนวน 106 ราย คือ อายุรกรรมทางเดินอาหาร ซึ่งข้อมูลที่เก็บจากการทบทวนเวชระเบียนคือ โรคและเหตุผลที่ส่งปรึกษา ความสอดคล้องของการวินิจฉัยโรค รวมทั้งความเหมาะสมของการปรึกษา และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: การส่งปรึกษาแพทย์อายุรกรรมสาขาทางเดินอาหารจำนวน 106 ราย เกือบร้อยละ 21.95 ของการส่งปรึกษาแผนกอายุรกรรมพบว่า โรคที่ส่งปรึกษามากที่สุดคือ ไวรัสตับอักเสบ (ร้อยละ 30.6) สงสัยมะเร็งทางเดินอาหาร (ร้อยละ 20.4) ภาวะดิสเปปเซีย (ร้อยละ 18.4) ตับแข็ง (ร้อยละ 9.2) กรดไหลย้อน (ร้อยละ 8.2) ปวดท้องเรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ (ร้อยละ 4.1) และอื่นๆ (ร้อยละ 9.2) เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ค่าการทำงานของตับผิดปกติ ท้องผูก เป็นต้น โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ร้อยละ 12.3 ไม่ได้ระบุชื่อโรคหรือปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับแผนกที่ส่งต่อ และจุดประสงค์ของการส่งต่อคือ เพื่อการวินิจฉัยโรคและตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 56.6) เพื่อการรักษา (ร้อยละ 40.6) และเป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง (ร้อยละ 2.8) ผู้ป่วยที่ส่งปรึกษาเพียง 90 ราย (ร้อยละ 84.9) ได้ไปพแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหารและได้รับการเพิ่มเติมรายละเอียดการซักประวัติ ตรวจร่างกายและส่งตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการมากกว่าแพทย์ปฐมภูมิ ร้อยละ 33.3, 16.7 และ 65.6 ตามลำดับ พบผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยไม่สอดคล้องระหว่างสองแผนกจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 20) โดยพบว่ามีการวินิจฉัยสลับกันระหว่างภาวะดิสเปปเซียและกรดไหลย้อนมากที่สุด รองลงมาคือ สงสัยมะเร็งในทางเดินอาหารแต่พบเป็นเพียงดิสเปปเซีย และมีหนึ่งรายที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น ในจำนวนผู้ป่วยที่ส่งปรึกษาด้วยโรคมะเร็งทางเดินอาหารจำนวน 20 คน พบว่าเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น ที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันสอดคล้องกันและผู้ป่วยอีกร้อยละ 25 ไม่ได้ไปตรวจต่อที่แผนกอายุรกรรม เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพการส่งปรึกษาทั้งหมดพบว่าร้อยละ 40 ไม่เหมาะสม เช่น ปรึกษาเร็วเกินไป (28 ราย; ร้อยละ 77.8) โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสตับอักเสบ, ดิสเปปเซีย หรือสงสัยมะเร็งทางเดินอาหาร ปรึกษาช้าเกินไปมีจำนวนหนึ่งราย (ร้อยละ 2.78) ควรจะมีรายละเอียดของการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการส่งตรวจเพิ่มเติมที่เหมาะสมก่อนการส่งต่อ (7 ราย; ร้อยละ 19.4) นอกจากนี้พบว่าแพทย์ปฐมภูมิที่ไม่ได้ผ่านการอบรมวุฒิบัตรสาขาเวชศาสตร์ครอบครัวมีแนวโน้มที่จะส่งปรึกษาโดยระบุเพียงอาการที่ผิดปกติแต่ไม่ได้ระบุการวินิจฉัยโรคที่ชัดเจน เช่น ปวดท้อง ไข้และม้ามโต เลือดออกในอุจจาระ กลืนลำบาก น้ำหนักลด หรือการทำงานของตับผิดปกติ เป็นต้น ในมุมมองของนักวิจัย ผู้ป่วยที่ส่งปรึกษาจำนวน 29 ราย (ร้อยละ 32.2) สามารถให้การดูแลที่แผนกเวชศาสตร์ครอบครัวได้ และร้อยละ 83.3 ของการส่งปรึกษาไม่พบการสื่อสารกลับจากแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหารถึงแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว สรุปผล: การฝึกอบรมด้านโรคระบบทางเดินอาหารเพิ่มเติมแก่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและเวชศาสตร์ครอบครัวน่าจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้การส่งปรึกษาแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหารเหมาะสมมากขึ้ร นอกจากนี้การพัฒนารูปแบบของการสื่อสารระหว่างสองแผนกจะช่วยให้คุณภาพการส่งปรึกษาดีขึ้นPublication Open Access คุณภาพการส่งปรึกษาผู้ป่วยจากเวชศาสตร์ครอบครัวถึงแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย: การสื่อสารและการดูแลต่อเนื่อง(2558) ดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์; แสงศุลี ธรรมไกรสร; สายสุนีย์ ทับทิมเทศ; ธราธิป พุ่มกำพล; สาลิกา สมศรี; Dumrongrat Lertrattananon; Sangsulee Thamakaison; Saisunee Tubtimtes; Taratip Pumkompol; Sarika Somsri; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ความเป็นมา: การส่งต่อผู้ป่วยจากเวชศาสตร์ปฐมภูมิถึงแพทย์เฉพาะทางและการส่งกลับเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในระบบบริการสุขภาพ สำหรับคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มีการส่งต่อผู้ป่วยถึงแพทย์เฉพาะทางอยู่เป็นประจำ ยังไม่มีการศึกษาคุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างเวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์เฉพาะทาง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพการส่งต่อผู้ป่วยจากเวชศาสตร์ครอบครัวถึงแพทย์เฉพาะทาง ในด้านกระบวนการส่งต่อการสื่อสารกันระหว่างแพทย์และการดูแลต่อเนื่องที่ผู้ป่วยได้รับ วิธีวิจัย: Cross-sectional descriptive study ด้วยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ถูกส่งปรึกษาจากแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวไปยังแผนกอายุรกรรม ในช่วงเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 - 31 ธันวาคม 2553 โดยทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 483 ราย จาก 2,714 ราย โดยวิธี simple random sampling วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา: มากกว่าร้อยละ 80 ของการส่งปรึกษาอายุรกรรม เป็นการส่งปรึกษาไปยังอายุรกรรม 6 สาขา ได้แก่ สาขาโรคทางเดินอาหาร (ร้อยละ 21.95) โรคหัวใจ (ร้อยละ 17.18) โรคระบบประสาท (ร้อยละ 13.87) โรคปอด (ร้อยละ 11.59) โรคต่อมไร้ท่อ (ร้อยละ 8.7) และโรคไต (ร้อยละ 7.87) ผู้ป่วยร้อยละ 87.78 ได้พบแพทย์เฉพาะทาง ระยะเวลารอคอยเฉลี่ย คือ 18.27 วัน ร้อยละ 82.23 ของการส่งต่อไม่ได้ระบุเหตุผลของการส่งต่อ และร้อยละ 13.22 ไม่ระบุปัญหาที่ส่งปรึกษาหรือระบุไม่ชัดเจน ร้อยละ 20.08 ของการส่งปรึกษาเร็วเกินไป พบการสื่อสารกลับจากแพทย์เฉพาะทางถึงแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพียงร้อยละ 14.08 และเพียงร้อยละ 3.73 ของผู้ป่วยที่ส่งปรึกษาถูกส่งกลับมาให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลต่อเนื่อง ร้อยละ 23.6 ของการส่งปรึกษา แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอาจจะสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้เองโดยไม่จำเป็นต้องส่งต่อ สรุปผล: ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการส่งต่อ เช่น การระบุปัญหาที่ส่งปรึกษาไม่ชัดเจน ส่งปรึกษาเร็วเกินไป ขาดการสื่อสารกลับจากแพทย์เฉพาะทาง ควรนำแบบฟอร์มการส่งปรึกษามาใช้ และสร้างระบบการสื่อสารกลับจากแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว เกือบ 1 ใน 4 ของการส่งต่ออาจจะหลีกเลี่ยงได้ โดยสร้างแนวทางการดูแลรักษาโรคหรือปัญหาที่พบบ่อย และเพิ่มพูนความรู้ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวผ่านการฝึกอบรมต่างๆPublication Open Access ผู้ป่วยหายไปในกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวถึงจิตแพทย์(2558) สายสุนีย์ ทับทิมเทศ; ดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์; จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง; แสงศุลี ธรรมไกรสร; ธาราทิพย์ พุ่มกำพล; Saisunee Tubtimtes; Dumrongrat Lertrattananon; Chakrit Sukying; Sangsulee Thamakaison; Taratip Pumkompol; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวส่งปรึกษาแต่ไม่ได้พบจิตแพทย์ และศึกษามุมมองของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีวิจัย: การศึกษาแบบ Mixed methods ด้วยการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ส่งปรึกษาจิตแพทย์ตลอดปี 2553 จำนวน 69 เล่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในกลุ่มผู้ป่วย 19 คน และสัมภาษณ์เจาะลึกในกลุ่มแพทย์และเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน 26 คน พร้อมทั้งอัดเทปคำสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และวิเคราะห์คำสัมภาษณ์เชิงเนื้อหาโดยมี theme ของการวิเคราะห์ดังนี้ การปฏิเสธการตรวจรักษา, การสื่อสาร, การรักษาความลับ และการเข้าถึงบริการ ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยร้อยละ 24.64 ไม่ได้พบจิตแพทย์ ทั้งผู้ป้วยที่ไปนัดแต่ไม่ไปตรวจ และไม่ไปติดต่อนัด ผู้ป่วยที่หายไปนี้ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 23.53 และพบปัญหาอื่นๆ เช่น Psychiatric Problem, Stress, Anxiety, Somatoform disorder, Panic disorder และ Insomnia เหตุผลที่ปฏิเสธการตรวจที่จิตเวช ได้แก่ 1) ความคิดที่ว่าผู้ป่วยที่เป็นบ้าเท่านั้นจึงจะมาตรวจจิตเวช 2) ผู้ป่วยไม่คิดว่าตัวเองป่วย 3) ผู้ป่วยอายหรือกลังเสียประวัติหรือเสียภาพพจน์ 5) การรอคิดนัดตรวจที่นาน ผู้ป่วยที่หายไปนี้มีความเสี่ยงนอกจากจะไม่ได้รับการดูแลรักษาแต่ละระยะแล้ว ถ้าโรคมีความรุนแรงมากขึ้นและไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดปัญหากับตนเอง ครอบครัว การทำงาน และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สรุป: ปัญหาผู้ป่วยหายไปเป็นความเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ การยอมรับการดูแลรักษาที่จิตเวชจึงเป็นกระบวนการสำคัญ กระบวนการสื่อสารแบบสองทางด้วยการทำความเข้าใจ การรับฟัง การตระหนักถึงความเชื่อและทัศนคติของผู้ป่วยช่วยทำให้ผู้ป่วยยอมรับการรักษามากขึ้นและควรทำควบคู่กับการอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมจึงส่งต่อ