Browsing by Author "วันทนา มณีศรีวงศ์กูล"
Now showing 1 - 8 of 8
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา(2554) อมรศรี ฉายศรี; สุปาณี เสนาดิสัย; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; Amornsri Chaisri; Supanee Senadisai; Wantana Maneesriwongul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ 1) บทบาทปัจจุบันและบทบาทที่คาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 2) องค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 3) กิจกรรมการ ดำเนินงานอนามัยโรงเรียน และ 4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน สูงกว่าบทบาท ที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียน/ครูอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่ละคนรับรู้งาน อนามัยโรงเรียนไม่ครบทุกกิจกรรม เมื่อรวบรวมคำตอบของทุกคนจากทุกฝ่าย จึงครอบคลุมครบทุก กิจกรรม แต่ก็ยังปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน ส่วนผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรู้งาน อนามัยโรงเรียนไม่ครบทุกกิจกรรมเช่นกัน กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน อนามัยโรงเรียนควรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ครูทุกคนในโรงเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน ชุมชน วัด และสำนักงานการประถมศึกษา ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนคือ ขาดงบประมาณ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขาดความรู้ ขาดการประสานงาน ขาดความร่วมมือ ขาดการประเมินผลการดำเนินงาน ครูอนามัยโรงเรียนและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีภาระงานมากจนไม่สามารถดำเนินงานอนามัยโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่ถูกคาดหวัง ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการประชุม เพื่อทำข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับ บทบาทในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างมี ประสิทธิภาพ 2) ครูทุกคนในโรงเรียน ตลอดจนนักเรียนและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในงานอนามัยโรงเรียน และ 3) นำข้อมูลจากการศึกษาไปประกอบในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนที่พึงประสงค์ ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่Publication Open Access การสำรวจงานวิจัยทางการพยาบาลแบบไม่ทดลองที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย(2553) พิมลรัตน์ อินแสน; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; อรสา พันธ์ภักดี; Pimolrat Insaen; Wantana Maneesriwongul; Orasa Panpakdee; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจงานวิจัยทางการพยาบาลแบบไม่ทดลองที่ศึกษาเกี่ยว กับผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึงปี พ.ศ. 2548 ทั้งงานวิจัยที่เป็น วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสารทางการ พยาบาล การแพทย์ และสาธารณสุขในประเทศไทย โดยค้นชื่อเรื่องงานวิจัยจากฐานข้อมูลของ มหาวิทยาลัย ฐานข้อมูลสถาบันพระบรมราชชนก และฐานข้อมูล Thai Index Medicus ผลการ สำรวจ ลักษณะทางกายภาพของงานวิจัย พบว่ามีงานวิจัยจำนวน 230 ชื่อเรื่อง ส่วนใหญ่ผลิตใน ช่วงปี พ.ศ. 2540-2548 เป็นประเภทวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมารับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ตัวแปรหลักที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่คือ ตัวแปรด้านภาวะการ ควบคุมโรค และตัวแปรด้านพฤติกรรมสุขภาพ งานวิจัยส่วนใหญ่มีการแสดงกรอบแนวคิดของ การวิจัย โดยเฉพาะที่เป็นวิทยานิพนธ์ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งสร้าง โดยผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า มีข้อค้นพบจากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ซึ่งสามารถจำแนก ออกเป็น 3 หมวด ดังนี้ 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการควบคุมโรค 2) ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีผลการวิจัยที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพจากงานวิจัย จำนวน 15 ชื่อเรื่อง ซึ่งสรุปไว้ในหมวดที่ 3 การสรุปผลการวิจัยทั้งหมดนี้ทำให้เข้าใจพฤติกรรม สุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน และปัจจัยด้านต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเหล่านั้น และยังพบว่าพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับภาวะการควบคุมโรค การสำรวจ งานวิจัยครั้งนี้ได้องค์ความรู้จากงานวิจัยจำนวน 230 ชื่อเรื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพยาบาล และนักวิจัยทางการพยาบาลในการนำไปพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มี ประสิทธิภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ควบคุมภาวะโรคเบาหวานได้ดีต่อไปPublication Open Access บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการมารับการรักษาต่อเนื่องในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง: กรณีศึกษา(2554) ระเบียบ เทียมมณี; สุปาณี เสนาดิสัย; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; Rabeab Teammanee; Supanee Senadisai; Wantana Maneesriwongul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาท ตามความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนการมารับการรักษา ต่อเนื่องของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่อยู่บ้านลำพังเมื่อผู้ดูแลต้องออกไปทำงานนอกบ้าน จำนวน 10 ราย ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง จำนวน 10 ราย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 ราย และผู้บริหาร สาธารณสุข จำนวน 3 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มรับรู้ปัญหาสุขภาพ และผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วย ของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแก้ปัญหาสุขภาพโดยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง แต่ยังพบปัญหาว่า ไม่สามารถไปรับการรักษาต่อเนื่องตามนัดได้ทุกครั้ง เพราะผู้ดูแลต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และผู้สูงอายุ โรคเรื้อรังมีข้อจำกัดในเรื่องการเดินทางด้วยรถประจำทางสาธารณะโดยลำพัง สำหรับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นพบว่าในปัจจุบันยังไม่มีนโยบายและแผนเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังโดยเฉพาะ จึงยัง ไม่มีบทบาทชัดเจนในการสนับสนุนการมารับการรักษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง แต่ดำเนินนโยบาย ให้การช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการสังคมกับผู้สูงอายุและผู้ยากไร้ มีบริการรถรับส่งกรณีเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่ครอบคลุมการไปตรวจตามนัดปกติในภาคสาธารณสุข มีการจัดระบบบริการที่เอื้อและสะดวกต่อ การมารับการรักษาต่อเนื่อง ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ต้องการได้รับการสนับสนุนบริการรถรับส่งไปตรวจตามแพทย์นัด หากตรงกับวันที่ผู้ดูแลออกไปทำงาน นอกบ้าน และให้มีความร่วมมือกับสาธารณสุขในการพัฒนาศักยภาพสถานีอนามัยให้มีมาตรฐานการดูแล เท่าเทียมกับโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงบริการ ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรมี การจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้รับการรักษาต่อเนื่องโดย 1) องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนบริการรถรับส่งตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ผู้มีความจำเป็นเข้าถึงบริการได้ 2) ดำเนินโครงการจิตอาสาโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบงบประมาณ และสาธารณสุข เป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของจิตอาสาให้สามารถดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) พัฒนาศักยภาพสถานีอนามัยให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน เพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพPublication Open Access ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในผู้ป่วย หลังปลูกถ่ายไต(2561) อุวรรณ โศภิตสกล; วรรณภา ประไพพานิช; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; Uwan Sopitsakol; Wonnapha Prapaipanich; Wantana Maneesriwongul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัย 5 ด้าน 1) ด้านผู้ป่วย 2) ด้านลักษณะของโรค 3) ด้านยา 4) ด้านสัมพันธภาพ ระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพและผู้ป่วย และ 5) ด้านสถานที่ให้การตรวจรักษา กับการรับประทาน ยากดภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังปลูก ถ่ายไตครั้งแรก 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 104 ราย ที่มารับการรักษา ณ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ประเมิน 1) ข้อมูลส่วน บุคคล 2) ความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยา 3) อาการข้างเคียงของยา 4) ความรู้ 5) การเดินทางมารับบริการรักษา 6) การสนับสนุนทางสังคม 7) สัมพันธภาพระหว่างบุคลากรทีม สุขภาพและผู้ป่วยและความสะดวกของการมารับบริการ และ 8) ภาวะซึมเศร้า สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน และสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.40 มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรบั ประทานยากดภูมิคุ้มกันดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ รับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพและผู้ป่วย และปัจจัยด้านสถานที่ให้การตรวจ รักษาตามลำดับ ผลการศึกษาสามารถนำไปจัดกิจกรรมการพยาบาลโดยการสนับสนุนปัจจัย ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอPublication Open Access ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของเด็กโรคลมชัก(2560) ชุติมาภรณ์ กังวาฬ; ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์; Chutimaporn Kangwal; Chuanruedee Kongsaktrakol; Wantana Maneesriwongul; Anannit Visudtibhan; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยากันชักอย่างสม่ำเสมอของเด็กโรคลมชัก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก จำนวน 109 คู่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเด็กและผู้ดูแล แบบประเมินความสม่ำเสมอในการรับประทานยา แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ยาบำบัด โรค และแบบสอบถามความรู้โรคลมชักของผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก ผลการศึกษา พบว่า เด็กโรคลมชัก ร้อยละ 92.70 มีการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชักของผู้ดูแล ชนิดของ การรักษาด้วยยา และความถี่ในการรับประทานยาต่อวัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับประทาน ยาอย่างสม่ำเสมอในเด็กโรคลมชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระยะเวลาในการเจ็บป่วย ความ พึงพอใจในการใช้ยาของผ้ดูแล ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในเด็กโรค ลมชัก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือควรมีการประเมินและส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับโรค ลมชัก และควรหาวิธีส่งเสริมการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอในเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยากัน ชักเพียงชนิดเดียว หรือเด็กที่มีความถี่ในการรับประทานยาต่อวันน้อยItem Open Access ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต(2562) กิตติมา แตงสาขา; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; พรรณวดี พุธวัฒนะ; Kittima Taengsakha; Wantana Maneesriwongul; Panwadee Putawatana; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ป่วย ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การสนับสนุนทางสังคม ลักษณะอาการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านยาที่ใช้รักษา และลักษณะสถานบริการกับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มารับบริการ ณ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม จำนวน 376 ราย ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การรักษา และลักษณะสถานบริการ แบบวัดความร่วมมือในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนโรคร่วมและอาการข้างเคียงของยาที่พบบ่อย คือ ปัสสาวะบ่อยและอาการไอ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่า ความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ และความสะดวกในการรอรับบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ลักษณะของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต การศึกษานี้มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรักษา การให้ความรู้ควรเน้นเรื่องยาและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ควบคู่กับการสนับสนุนทางสังคมของบุคคลในครอบครัว เพื่อน และเจ้าหน้าที่สุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตและชะลอความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางไตPublication Open Access ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน(2562) ณฐกร จันทนะ; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; พรรณวดี พุธวัฒนะ; Nathakron Chantana; Wantana Maneesriwongul; Panwadee Putawatana; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ทัศนคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และการรักษา การสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยด้านลักษณะการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านยา และปัจจัยด้านสถานบริการกับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานทั้งหมด 75 ราย จากคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลในจังหวัดกาญจนบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างระหว่างกันยายน ถึงธันวาคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนานและการรักษา การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและรายด้าน และความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ เพศ สถานภาพสมรสการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่เจ็บป่วย โรคร่วม ชนิดของยา จำนวนเม็ดยา จำนวนมื้อยา อาการข้างเคียงของยา ระยะทางในการเดินทางมารับบริการ ระยะเวลาในการเดินทางมารับบริการ ระยะเวลาในการรอรับบริการ ความสะดวกในการรอรับบริการ และความถี่ของการนัดตรวจรักษาไม่มีความสัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยารักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พยาบาลควรให้ความรู้และเน้นการปรับทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับวัณโรคดื้อยาหลายขนานและการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาถูกต้องและสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนทางสังคมและอำนวยความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ เพื่อเพิ่มอัตราการรักษาหายของวัณโรคดื้อยาหลายขนานPublication Open Access ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้(2557) แสงทอง ธีระทองคำ; ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว; วันทนา มณีศรีวงศ์กูล; Sangthong Terathongkum; Nattira Prasatkaew; Wantana Maneesriwongul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้รับการรักษา ณ สถานี อนามัยบ้านไทย หรือสถานีอนามัยเที่ยงแท้ จังหวัดชัยนาท ถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 66 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยมบ้านแบบ ปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม พฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะสุขภาพ ได้แก่ ความดันเลือด เส้นรอบเอว และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย paired t-test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความดันเลือดลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และกลุ่มควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า โปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตาม ทางโทรศัพท์ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และทำให้ควบคุมความดันเลือดได้ดีขึ้น จึงควร นำมาใช้ในการดูแลผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้