Browsing by Author "สาวิตรี บุญปาลิต"
Now showing 1 - 2 of 2
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)(2560) สาวิตรี บุญปาลิต; Sawitree Boonpalit; มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล = Mahidol University’s Institutional Repository (Mahidol IR) (http://repository.li.mahidol.ac.th) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ งานวิจัย ผลงานวิชาการที่ผ่านการตีพิมพ์ และไม่ได้ตีพิมพ์ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของคณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรทุกคณะ สถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดลในรูปสื่อดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ให้บริการบนเว็บเพจของหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บรรลุเป้าประสงค์ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ใช้โปรแกรม DSpace ในการดำเนินงาน อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลจากการทำงาน (function) ในระบบ และสามารถสืบค้นด้วย Search Engine เข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา มีความร่วมมือกับเครือข่ายคลัง เชื่อมโยงข้อมูล ข้ามระบบในระดับสากล และใช้สารสนเทศร่วมกันItem Open Access คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) : เส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน(2566) ทิพย์สุดา วนะวนานนท์; ชญานิษฐ์ นิยม; สาวิตรี บุญปาลิตคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เป็นแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Digital Collection ที่เข้าถึงได้โดยเสรีบนเว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งให้บริการผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนจาก ๓๙ หน่วยงาน มีข้อมูลจำนวนมากกว่า ๕๐,๐๐๐ รายการ เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดลและผู้สนใจทั่วไป ให้สามารถสืบค้นและเข้าถึงผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูลออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Greenstone เมื่อปี ๒๕๔๙ และโปรแกรม DSpace เวอร์ชัน ๕.๔ ดำเนินการโดยงานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย ฝ่ายคลังความรู้ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านกระบวนการรวบรวมผลงานวิชาการ ทำรายการเมทาดาทา และประมวลผลการสืบค้นได้แบบ Real Time ระยะเวลา ๑๗ ปีที่ผ่านมาประสบปัญหาในการพัฒนา Collection ให้เติบโตได้ไม่เต็มที่ ขาดความต่อเนื่อง ส่งผลให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาในด้านกระบวนการปฏิบัติงานและปัจจุบันได้ปรับปรุงฐานข้อมูลไปสู่โปรแกรม DSpace เวอร์ชัน ๗.๔ ทำให้เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพการดำเนินงานและให้บริการที่มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น