Browsing by Author "เสาวภา ชาวนา"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Item Metadata only การวิเคราะห์ต้นทุนการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนปีงบประมาณ 2558 : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเกาะช้าง จังหวัดตราด(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560) เสาวภา ชาวนา; สุคนธา คงศีล; สุขุม เจียมตน; ยศพล เหลืองโสมนภาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการคลอดปกติของหญิงแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนของโรงพยาบาลเกาะช้าง จังหวัดตราด ปีงบประมาณ 2558 ในมุมมองผู้ให้บริการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแบบย้อนหลัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการ คือ ผู้ที่มารับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นการคลอดปกติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 กลุ่มตัวอย่างเฉพาะหญิงแรงงานต่างด้าวที่ใช้สิทธิกองทุนผู้ประกันตนคนต่างด้าว ซึ่งมีทั้งหมด 84 คน และ กลุ่มผู้ให้บริการ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 29 คน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมการดูแลการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตน จำนวน 84 ราย มีต้นทุนรวม 887,372.92 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าดำเนินการ 829,543.11 บาท คิดเป็นร้อยละ 93.49 ต้นทุนค่าวัสดุ 23,622.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.66 ต้นทุนค่าลงทุน 34,207.04 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.85 อัตราส่วนของต้นทุนพบว่า ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน คือ 35.12 : 1 : 1.45 ต้นทุนต่อหน่วยการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนเท่ากับ 10,563.96 บาท/ราย ต้นทุนรายโรคต่อวันนอนเท่ากับ 3,841.44 บาท/ราย/วันนอน เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของต้นทุนการคลอดปกติของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตน ต่อค่าใช้จ่ายที่ได้รับการจัดสรรในการให้บริการผู้ป่วย (Cost charge ratio) พบว่า อัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับหรือการได้รับจัดสรรค่าบริการน้อยกว่า 1 แสดงว่าโรงพยาบาลได้รับเงินจากการจัดสรรค่าบัตรประกันสุขภาพ รายหัวที่ได้ต่ำกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปนำเสนอต่อกลุ่มงานประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาระค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลต้องแบกรับ และเสนอให้มีการปรับการจ่ายเงินค่าบริการคลอดของแรงงานต่างด้าวผู้ประกันตนให้หน่วยบริการ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดราคาบัตรประกันสุขภาพของแรงงานต่างด้าว