Browsing by Author "แววตา ศรีทอง"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่ได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อต่างกัน(2565) แววตา ศรีทอง; สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง; พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม; Waewta Sritong; Sudaporn Payakkaraung; Parnnarat Sangperm; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องของมารดาที่ได้รับสื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต รูปแบบการวิจัย: การศึกษากึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อ 3 ประเภท คือ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์สองชุด ถามเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก 2) ความคิดเห็นต่อการได้รับข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านสื่อ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Kruskal Wallis test by ranks ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า มารดาที่ได้รับสื่อบุคคล มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องแตกต่างกัน (p < .05) และเมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ตมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และมีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว สรุปและข้อเสนอแนะ: มารดาที่ได้รับสื่อบุคคลร่วมกับสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลร่วมกับสื่ออินเทอร์เน็ต มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อเนื่องนานกว่ามารดาที่ได้รับสื่อบุคคลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น พยาบาลควรบูรณาการหลากหลายช่องทางและวิธีการในการให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การใช้สื่อหนังสือคู่มือ หรืออินเทอร์เน็ต ร่วมกับการให้คำแนะนำโดยพยาบาล ช่องทางหลากหลายจะช่วยเอื้ออำนวยให้มารดาได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น