Browsing by Author "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access การเลิกบุหรี่ได้สำเร็จด้วยการนวดกดจุดเท้า(2564) ธราดล เก่งการพานิช; มณฑา เก่งการพานิช; ธนัท ดลอัมพรพิศุทธิ์; สมศรี โพธิ์ประสิทธิ์; สุณี กาเหว่าลาย; Tharadol Kengganpanich; Mondha Kengganpanich; Thanut Dolampornpisuth; Somsri Pothprasith; Sunee Kavowlai; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์; ชมรมนวัตกรรมการแพทย์ทางเลือก; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนทราย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี; โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินสี อ.บ้านคา จ.ราชบุรีการวิจัยประเมินผลการทดลองแบบกลุ่มเดียวนี้มุ่งศึกษาผลของการนวดกดจุดเท้า ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำและปัจจัยทำนายการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ด้วยการนวดกดจุดเท้า ดำเนินการศึกษาในตัวอย่าง 240 คน จังหวัดราชบุรี ผู้สูบบุหรี่จะ ได้รับคำแนะนำอย่างสั้นและนวดกดจุดเท้าเพื่อเลิกบุหรี่ต่อเนื่อง 10 วัน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูลก่อนนวดและหลังนวดในวันที่ 2 ถึงวันที่ 10 และติดตาม ต่อเนื่องที่ 30 90 และ 180 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ ไคสแควร์ ANOVA และการถดถอยโลจิสติคทวิ ผลการนวดกดจุดเท้า พบว่า อัตราการเลิกสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นในช่วง 10 วันจากร้อยละ 4.1 ในวันที่ 2 เป็นร้อยละ 29.2 ในวันที่ 10 และอัตราการเลิกบุหรี่ลดลง เล็กน้อยที่ 30 วัน (ร้อยละ 28.8) 90 วัน (ร้อยละ 25.0) และ 180 วัน (ร้อยละ 26.7) ปัจจัยที่ สัมพันธ์กับการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ คือ อายุของผู้สูบบุหรี่ (p=0.004) จำนวนมวนบุหรี่ที่ สูบต่อวัน (p<0.001) ระดับการติดสารนิโคติน (p=0.009) และความตั้งใจเลิกบุหรี่ (p=0.032) ปัจจัยดังกล่าวร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่สำเร็จร้อยละ 26.9 ดังนั้น การนวดกดจุดเท้าเพื่อเลิกบุหรี่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ใน สถานบริการสาธารณสุขได้