Browsing by Author "Aroonrasamee Bunnag"
Now showing 1 - 3 of 3
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกิน(2555) อรุณรัศมี บุนนาค; Aroonrasamee Bunnag; พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม; Parnnarat Sangperm; วีรยา จึงสมเจตไพศาล; Weeraya Jungsomjatepaisal; ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล; Yuwadee Pongsaranunthakul; วีนัส ลีฬหกุล; Venus Leelahakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกินต่อร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และการทํากิจกรรม ปริมาณพลังงาน และสัดส่วนการกระจายพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับต่อวัน รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3 สุ่มจากการจับสลากได้ 2 โรงเรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากนักเรียนที่มีภาวะน้ําหนักเกินและโรคอ้วนโรงเรียนละ60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มก่อนและสิ้นสุดโครงการ โดยการชั่งน้ําหนัก วัดส่วนสูงค่าร้อยละน้ําหนักต่อส่วนสูง แบบสอบถาม แบบบันทึกอาหารและกิจกรรม กลุ่มทดลองมีการติดตามเป็นระยะ มีการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ปกครองและครูมีส่วนร่วม ระยะเวลาของโครงการ 30 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา t-test Mann-Whitney U และ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัย: เมื่อสิ้นสุดโครงการมีกลุ่มตัวอย่างจํานวน 87 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 คน เพศชาย 25 คน เพศหญิง21 คน และกลุ่มควบคุม 41 คน เพศชาย 25 คน เพศหญิง 16 ผลการทดสอบระหว่างกลุ่มเมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ําหนัก ส่วนสูง และร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกําลังกาย และสัดส่วนการกระจายพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับต่อวัน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันที่นัยสําคัญทางสถิติ (p > .05) ส่วนผลการทดสอบภายในกลุ่ม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของร้อยละของน้ําหนักต่อส่วนสูง และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มทดลอง และพฤติกรรมการออกกําลังกายลดลงในกลุ่มควบคุม สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรนําวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย มาช่วยในการลดความเสี่ยงของเด็กวัยเรียนต่อการเกิดโรคอ้วน พร้อมทั้งควรมีการติดตามผลในระยะยาวถึงการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมPublication Open Access ผลของโปรแกรมการจัดอาหารกลางวันต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกินในโรงเรียน(2556) อรุณรัศมี บุนนาค; Aroonrasamee Bunnag; พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม; Parnnarat Sangperm; วีรยา จึงสมเจตไพศาล; Weeraya Jungsomjatepaisal; ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล; Yuwadee Pongsaranunthakul; กาญจนา ครองธรรมชาติ; Kanjana Krongthammachart; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ต่อร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูง พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ปริมาณพลังงานและสัดส่วนการกระจายพลังงานในวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน รูปแบบการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนในโรงเรียน 2 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน กลุ่มทดลองรับประทานอาหารกลางวันจากร้านอาหารสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และมีการสนทนากลุ่มกับผู้วิจัยทุก 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลทั้งสองกลุ่มก่อนและสิ้นสุดโครงการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าร้อยละน้ำหนักต่อส่วนสูงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการบันทึกอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ t-test ผลการวิจัย: ผลการทดสอบระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าร้อยละของน้ำหนักต่อส่วนสูงลดลงมากกว่า และมีคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม (p < .05) ในขณะที่ผลการทดสอบภายในกลุ่มด้วยสถิติ paired t-test พบว่า เมื่อสิ้นสุดโครงการ กลุ่มทดลองได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่ได้รับพลังงานจากไขมันในสัดส่วนที่ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดเตรียมอาหารกลางวันที่เหมาะสมให้แก่วัยรุ่นที่มีภาวะน้ําหนักเกินเอื้อให้วัยรุ่นสามารถควบคุมน้ําหนักตัวได้ พยาบาลประจําโรงเรียนรวมทั้งผู้บริหารโรงเรียนจึงควรมีส่วนร่วมในการให้คําแนะนํา และสนับสนุนให้ร้านค้าในโรงเรียนจําหน่ายอาหารสุขภาพเพื่อเป็นทางเลือกให้กับวัยรุ่นที่มีปัญหาน้ำหนักเกินPublication Open Access ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน(2554) ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์; Liwan Ounnapiruk; วีนัส ลีฬหกุล; Venus Leelahaku; อรุณรัศมี บุนนาค; Aroonrasamee Bunnag; ชุติมา อัตถากรโกวิท; Chutima Autthakornkovi; ไพโรจน์ ลีฬหกุล; Pairoj Leelahakul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายในนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย : คัดเลือกโรงเรียนในสังกัดของรัฐบาล เขตบางกอกน้อย ที่ผู้วิจัยรับผิดชอบ ซึ่งมีปัญหาโภชนาการเกิน 3 โรงเรียนและสุ่มนักเรียน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 51 คน ในกลุ่มทดลองจะเข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นเวลา 2 วันและติดตามให้ความรู้ ให้คำปรึกษา กระตุ้น เตือน เฝ้าระวังด้วยตนเอง ประชุมกลุ่มร่วมกับบิดามารดาและครู และประเมินผลจากการทำกิจกรรม เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตตามปกติ ผลการวิจัย : ก่อนเริ่มโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีกิจกรรมทางกายไม่แตกต่างกัน ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองใช้เวลาดูโทรทัศน์ลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนกิจกรรมทางกายอื่นๆ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มระหว่างก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ พบว่ากลุ่ม ทดลองใช้ระยะเวลาในการเล่นวิดีโอเกม หรืออินเทอร์เน็ต ลดลงจากก่อนเริ่ม โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนกิจกรรมทางกายอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีกิจกรรมทางกายทุกกิจกรรมไม่แตกต่างกันตลอดเวลาในโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีแนวโน้มทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด สรุปและข้อเสนอแนะ : โรคอ้วนในเด็กเป็นปัญหาวิกฤตทางสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงควรมีการปลูกฝังพฤติกรรมการออกกำลังกายและการมีวิถีชีวิตที่มี การเคลื่อนไหว และมีการใช้พลังงานในเด็กอย่างต่อเนื่อง