Browsing by Author "Patcharee Sanehjaroen"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่เรียนกลุ่มปกติและกลุ่มสองภาษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2564) รัตนาภรณ์ คงคา; สมสิริ รุ่งอมรรัตน์; พัชรี เสน่ห์เจริญ; ศุภาวดี วายุเหือด; เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ; ช่อผกา สุทธิพงศ์; คัทลียา คงเพ็ชร; อรชุมา นากรณ์; Ruttanaporn Kongkar; Somsiri Rungamornarat; Patcharee Sanehjaroen; Supawadi Wayuhuerd; Penchan Sittipreechachan; Chophaka Suttipong; Khuttaleeya Khongpet; Onchuma Nakon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างกลุ่มปกติและกลุ่มสองภาษา และประสบการณ์การเรียนของกลุ่มสองภาษา รูปแบบการวิจัย: ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิตพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่จบในปีการศึกษา 2560 จากกลุ่มปกติ 30 คน และกลุ่มสองภาษา 21 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และแบบสอบถามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Mann-Whitney U Test เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มสองภาษาด้วยการสนทนากลุ่มและนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: กลุ่มสองภาษาและกลุ่มปกติมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลการเรียนรู้ และค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไม่แตกต่างกัน (p > .05) แต่กลุ่มสองภาษาสอบภาษาอังกฤษก่อนเข้าปฏิบัติงานผ่านเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดมากกว่ากลุ่มปกติ ประสบการณ์การเรียนในกลุ่มสองภาษาที่ได้รับคือ การได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษต่อเนื่องโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพิ่มโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ได้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก แบบ active learning อย่างไรก็ตามกลุ่มสองภาษาต้องขยันเรียนมากขึ้นเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียน สรุปและข้อเสนอแนะ: กลุ่มสองภาษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนระดับมาก จึงควรเพิ่มจำนวนนักศึกษากลุ่มสองภาษา คณะพยาบาลศาสตร์ควรเตรียมอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร พัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการสอนวิชาทางการพยาบาลเป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตได้สื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มสองภาษาให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนต่อไป