Browsing by Author "Waraphorn Khunin"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access การตัดสินใจมีบุตรของหญิงที่เป็นพาหะโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน(2556) วราภรณ์ ขุนอินทร์; ทิพยวิมล ทิมอรุณ; ไกรฤกษ์ ทวีเชื้อ; ดุษฎี เจริญพิภพ; ชนินทร์ ลิ่มวงศ์; ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล; Waraphorn Khunin; Thipwimon Tim-aroon; Krailerk Taweechue; Dussadee Charoenpipop; Chanin Limwongse; Duangrurdee Wattanasirichaigoon; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. หน่วยเวชพันธุศาสตร์โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน (Duchenne muscular dystrophy: DMD) เป็นโรคพันธุกรรม ที่มีความรุนแรงและมีการถ่ายทอดผ่านทางโครโมโซมเอ็กซ์แบบยีนด้อย การวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการตัดสินใจมีบุตรของหญิงที่เป็นพาหะโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดา หรือญาติเพศหญิงฝ่ายมารดาที่เป็นพาหะของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลรามาธิบดีระหว่างปี พ.ศ. 2548–2553 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยตรงและ/หรือทางโทรศัพท์แนวคำถามที่ใช้ สัมภาษณ์ครอบคลุม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การยอมรับหรือปฏิเสธการตั้งครรภ์ 2) การยอมรับ หรือปฏิเสธการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และ 3) การเลือกยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อ หากพบว่าทารกในครรภ์เป็นโรค พร้อมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หญิงที่เป็นพาหะจำนวน 5 ใน 8 ราย ต้องการมีบุตร จำนวนลดลง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (7 ราย) ยอมรับหรือต้องการตั้งครรภ์ และถ้าตั้งครรภ์แล้ว ต้องการได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ซึ่งหากพบว่าทารกในครรภ์เป็นโรค กลุ่มตัวอย่าง 6 ใน 7 รายจะเลือกยุติการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างมีปฏิกิริยาตอบสนอง ได้แก่ ความรู้สึกช็อค ความรู้สึกผิด การโทษตนเอง การหลีกเลี่ยงและการปรับตัว ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกเหล่านี้จะกลับไปกลับมา ปัจจัยที่กี่ยวข้องกับปฏิกิริยาตอบสนองและการตัดสินใจมีบุตร ได้แก่ การศึกษา ค่านิยม ความเชื่อ ประสบการณ์การมีบุตรหรือญาติเป็นโรคมาก่อน ข้อมูลที่รับรู้ อารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น ปฏิกิริยาจากคนรอบข้างและคนในครอบครัวและบริบททางสังคม การช่วยเหลือทางการแพทย์ และสภาวะการตั้งครรภ์ในขณะนั้น ปฏิกิริยาตอบสนองร่วมกับปัจจัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมีบุตร และการตัดสินใจนั้นเป็นพลวัตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ผลจากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าการรู้ ภาวะพาหะของโรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชนจะเป็นประโยชน์ต่อการให้ทางเลือกแก่ครอบครัวใน การป้องกันการเกิดโรคนี้ซํ้าอีก