Browsing by Author "Wiwat Wanarangsikul"
Now showing 1 - 2 of 2
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข(2559) วิวัฒน์ วนรังสิกุล; Wiwat Wanarangsikul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนเพราะเหตุใดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางาน ด้านสาธารณสุข ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการและศึกษาองค์ประกอบที่ทำาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี เข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาคือ ตัวแทนผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ใน “โครงการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกโดยใช้แนวทาง การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขั้นตอน ต่าง ๆ คือ 1) รับทราบนโยบายจากสำานักงานจังหวัด เรื่อง “ยุทธศาสตร์บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์แห่งชาติ” 2) ร่วมเป็น “คณะอนุกรรมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” 3) วางแผน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี 4) ดำเนินงาน ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” และ 5) ติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 6 ปัจจัย โดยจำาแนกเป็นปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอก องค์กร กล่าวคือ ปัจจัยภายในองค์กร 1. กฎหมาย เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ 2. วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร 3. ศักยภาพทางด้านการเงินและการคลัง 4. ความตระหนักรู้ในปัญหาเอดส์ของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยภายนอกองค์กร 5. อำนาจ ในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาระดับสูงของจังหวัด 6. ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างองค์กร ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ในลักษณะของพหุภาคี และเจ้าหน้าที่ของทุกองค์กร ควรได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ร่วมกัน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบ เกี่ยวกับงบประมาณPublication Open Access พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในจังหวัดกาญจนบุรี(2552) วิวัฒน์ วนรังสิกุล; Wiwat Wanarangsikul; มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรคและในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้ง 2 กลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษารวม 400 ราย ของ 2 พื้นที่ในจังหวัดกาญจบุรี โดยแบ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค จำนวนกลุ่มละ 200 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งสองเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในเขตพื้นที่ที่มีการเกิดโรค ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก และการศึกษา โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระดับปานกลาง (R = 0.402) ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีในเขตพื้นที่ที่ไม่มีการเกิดโรค ได้แก่ บุคคลในครอบครัวที่รับรู้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก ความรู้เกี่ยวกับอาการของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไข้หวัดนก อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการติดเชื้อไข้หวัดนก และสถานภาพในครอบครัว โดยปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกในระกับปานกลาง (R = 0.524) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกมีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกให้ดีขึ้น