Publication:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำ

dc.contributor.authorวรรณพันธุ์ อ่อนแย้มen_US
dc.contributor.authorWannapan Onyaemen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยนานาชาติen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T15:15:38Z
dc.date.available2020-04-02T15:15:38Z
dc.date.created2563-04-02
dc.date.issued2558
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำ ศึกษาปัญหาข้อขัดข้องของการทำวิจัยจากงานประจำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มประชากรคือพนักงานของวิทยาลัยนานาชาติ ที่ไม่มีผลงานวิจัย และใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับกลุ่มประชากรที่มีผลงานวิจัยแล้ว สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า Independent –Samples T Test และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ไม่มีผลงานวิจัยเห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของการทำวิจัยจากงานประจำในระดับมาก ส่วนปัจจัยลักษณะงานได้แก่ 1. ความสำคัญของงาน 2. การมีส่วนร่วมในงาน 3. ความมีอิสระในการทำงาน 4. โอกาสก้าวหน้าในการทำงาน 5. ผู้บริหาร/หัวหน้างาน 6. ค่าตอบแทน/ทุนสนับสนุน 7. เวลาที่ใช้ในการทำวิจัย 8. ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 9. เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของการทำวิจัยจากงานประจำในระดับปานกลาง ผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มที่มีผลงานวิจัยแล้วพบว่า กลุ่มที่มีผลงานวิจัยมีความเห็นด้านลักษณะงานแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีงานวิจัย คือการมีโอกาสก้าวหน้า และสภาพแวดล้อมที่เสริมให้มีแรงจูงใจ ได้แก่ ทุนสนับสนุน, เพื่อนร่วมงาน /ผู้บังคับบัญชา และการมีความรู้ด้านการวิจัย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยจากงานประจำในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าอุปสรรคที่ทำให้พนักงานไม่ทำวิจัยก็คือ บุคลากรมีภาระงานมากและมีความรู้ในด้านการวิจัยในระดับน้อยen_US
dc.description.abstractThis research aims to study factors that affects the improvement of staff proficiency in doing routine to research (R2R), and to study problems and difficulties in doing R2R of the staff. Population of this study was staffs working in the institutions, The Questionnaires were used to ask staff who have not done R2 R and interviewed staff who already did R2 R research. Data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t Test and One-Way Anova. For staff who have not done R2 R, personal factor that affects the staff proficiency in doing R2R the most is work experience. Other factors included the significance of work, work participation, independence in work, opportunity in career advancement, executives/chiefs, remuneration/ supporting fund, time for doing research, duration of work, tools and devices. For staff who have done R2R, it showed that opportunity of career advancement, supporting fund, colleagues/leaders and knowledge on research were the factors that affect the improvement of staff proficiency in doing R2 R the most. Problems and difficulties for staff to do R2 R were that they have lot of job responsibilities and lack of knowledge on research method.en_US
dc.identifier.citationวารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 15-26en_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/53994
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectปัจจัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectงานวิจัยจากงานประจำen_US
dc.subjectFactoren_US
dc.subjectDevelopmenten_US
dc.subjectRoutine to Researchen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำen_US
dc.title.alternativeThe factors affecting development of routine to research potentialsen_US
dc.typeResearch Articleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
ic-ar-wannapan-2558.pdf
Size:
807.04 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:

Collections