Publication: DHA analysis in different types of egg yolks: Its possibility of being a DHA source for boar semen cryopreservation.
Issued Date
2013
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-6491
Rights
Mahidol University.
Rights Holder(s)
Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University
Bibliographic Citation
Thai J Vet Med. Vol.43, No.1 (Mar 2013), 119-123
Suggested Citation
Kampon Kaeoket, Panida Chanapiwat DHA analysis in different types of egg yolks: Its possibility of being a DHA source for boar semen cryopreservation.. Thai J Vet Med. Vol.43, No.1 (Mar 2013), 119-123. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1682
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
DHA analysis in different types of egg yolks: Its possibility of being a DHA source for boar semen cryopreservation.
Alternative Title(s)
การวิเคราะห์กรดไขมันชนิด DHA ในไข่แดงชนิดต่างๆ: ความเป็นไปได้ในการเป็นแหล่งของ DHA สำหรับการแช่แข็งน้ำเชื้อสุกร
Author(s)
Abstract
The aim of this study was to investigate the concentrations of Docosahexaenoic acid (DHA) in DHA enriched hen egg yolk (H-DHA) in comparison with egg yolk from chicken, duck, quail, ostrich and crocodile in order to find a source of DHA for boar semen cryopreservation. A pool (10 eggs in each) of DHA enriched hen egg yolk and egg yolks from chicken, duck, quail, ostrich and crocodile were analyzed for fatty acids profile at the Nutrition Laboratory, Mahidol University. Comparing all egg yolks, the highest DHA concentration in egg yolk was found in H-DHA egg yolk (3.7% of total fatty acid) and the lowest was found in ostrich egg yolk (0.4% of total fatty acid). Comparing DHA concentration in all egg yolks (not including H-DHA egg yolk), the highest DHA concentrations were found in duck egg yolk (1.8% of total fatty acid) and quail egg yolk (1.5% of total fatty acid),respectively. In conclusion, H-DHA, duck and quail egg yolks can be an abundant source of DHA for boar semen cryopreservation.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจประเมินความเข้มข้นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (Docosahexaenoic acid, DHA) ในไข่แดงที่มาจากไข่ไก่ที่อุดมด้วยกรดไขมันชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกปริมาณสูง (H-DHA) เปรียบเทียบกับไข่แดงที่มาจากไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่นกกระจอกเทศ และไข่จระเข้ เพื่อหาแหล่งของกรดไขมันชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิคที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแช่แข็งน้ำเชื้อพ่อสุกร โดยนำไข่ทั้งหมดจำนวน 10 ฟองจากสัตว์แต่ละชนิด แยกไข่แดงออกจากไข่ขาวเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลของกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคในไข่แดงทั้งหมดนั้นพบว่า ความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสูงที่สุดในไข่แดงจาก H-DHA (3.7% ของกรดไขมันทั้งหมด) ในขณะที่ไข่นกกระจอกเทศมีระดับความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคต่ำที่สุด (0.4% ของกรดไขมันทั้งหมด) และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคในไข่แดงทั้งหมด (ไม่รวมไข่ไก่จาก H-DHA) พบว่าไข่แดงจากไข่เป็ดมีระดับความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสูงที่สุด (1.8% ของกรดไขมันทั้งหมด) รองลงมาคือไข่แดงจากนกกระทา (1.5% ของกรดไขมันทั้งหมด) จากผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า ไข่แดงจาก H-DHA ไข่เป็ด และไข่นกกระทาสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสำหรับกระบวนการแช่แข็งน้ำเชื้อพ่อสุกรได้
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจประเมินความเข้มข้นของกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิค (Docosahexaenoic acid, DHA) ในไข่แดงที่มาจากไข่ไก่ที่อุดมด้วยกรดไขมันชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิกปริมาณสูง (H-DHA) เปรียบเทียบกับไข่แดงที่มาจากไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ไข่นกกระจอกเทศ และไข่จระเข้ เพื่อหาแหล่งของกรดไขมันชนิดโดโคซาเฮกซาอีโนอิคที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการแช่แข็งน้ำเชื้อพ่อสุกร โดยนำไข่ทั้งหมดจำนวน 10 ฟองจากสัตว์แต่ละชนิด แยกไข่แดงออกจากไข่ขาวเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลของกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคในไข่แดงทั้งหมดนั้นพบว่า ความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสูงที่สุดในไข่แดงจาก H-DHA (3.7% ของกรดไขมันทั้งหมด) ในขณะที่ไข่นกกระจอกเทศมีระดับความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคต่ำที่สุด (0.4% ของกรดไขมันทั้งหมด) และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคในไข่แดงทั้งหมด (ไม่รวมไข่ไก่จาก H-DHA) พบว่าไข่แดงจากไข่เป็ดมีระดับความเข้มข้นของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสูงที่สุด (1.8% ของกรดไขมันทั้งหมด) รองลงมาคือไข่แดงจากนกกระทา (1.5% ของกรดไขมันทั้งหมด) จากผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า ไข่แดงจาก H-DHA ไข่เป็ด และไข่นกกระทาสามารถนำไปใช้เป็นแหล่งของกรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิคสำหรับกระบวนการแช่แข็งน้ำเชื้อพ่อสุกรได้