Publication:
ท้องถิ่นภาคกลางท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง: บทสังเคราะห์จากโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลาง

dc.contributor.authorขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษและวัฒนธรรมเอเชีย. สาขาพหุวัฒนธรรมศึกษาen_US
dc.date.accessioned2015-02-18T07:32:24Z
dc.date.accessioned2018-06-01T08:31:49Z
dc.date.available2015-02-18T07:32:24Z
dc.date.available2018-06-01T08:31:49Z
dc.date.created2558-02-18
dc.date.issued2556
dc.description.abstractประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แนวใหม่ที่ได้รับ ความสนใจอย่างจริงจังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการศึกษา ประวัติศาสตร์ที่มุ่งศึกษาวิถีชีวิตชุมชนท้องถิ่นต่างๆโดยมีชาวบ้านเป็นศูนย์กลางซึ่งทำให้เห็นบริบทของชุมชน ผู้คน บทบาทของท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ในระยะหลังได้มีการส่งเสริมให้เยาวชนได้เป็นผู้ศึกษาเรื่องราว ความเป็นมา และความเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นของตัวเองเพื่อปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของถิ่นที่อยู่และเกิดสำนึกรักท้องถิ่นของตนเองอันจะนำไปสู่ พลังในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมั่นคงในระยะยาวต่อไป บทความนี้ได้นำเสนอบทสังเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่ภาคกลางจากงานเขียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของยุววิจัยในโครงการ ยุววิจัยประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 11 เรื่อง โดยมีคำถามหลักในการสังเคราะห์ดังนี้ 1) จากมุมมองของเด็กผ่านการบอกเล่าความทรงจำของผู้ใหญ่ได้สะท้อนภาพ การเปลี่ยนแปลงด้านฐานทรัพยากรและความเป็นท้องถิ่นของภาคกลางในช่วง 80 ปีที่ผ่านมา อย่างไร และ 2) ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อความคิดและความเป็นไปของคนในท้องถิ่นอย่างไร จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของยุววิจัยผ่านความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่นั้น ทำให้เห็นว่าพื้นที่ภาคกลางในช่วงเกือบศตวรรษที่ผ่านมาอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติผู้คนในท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ และมีวิถีชีวิตในเชิงเกื้อกูล เอาแรง และแบ่งปัน การเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากนโยบายการพัฒนาประเทศ พื้นที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทางกายภาพ วิถีการผลิต และการดำเนินชีวิตของคนภาคกลาง เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาพอดีตที่ล้วนแต่เป็นภาพความทรงจำที่ดีงามดูเหมือนความอุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตอันสุขสงบ ของคนภาคกลางกำลังจะหดหายไป อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามมุมมองคนในท้องถิ่นก็มีทั้งแง่บวกและลบ คนภาคกลางไม่ได้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสียทั้งหมด ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามปรับโต้สิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อหาจุดสมดุลในการดำเนินชีวิต ซึ่งผลของการสังเคราะห์ครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในฐานะที่เป็นหลักฐานชั้นต้นสำหรับการศึกษาต่อยอดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในเชิงลึกต่อไปen_US
dc.identifier.citationวารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 30, ฉบับที่ 2 (2556), 108-132en_US
dc.identifier.issn0125-5061
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/13299
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectประวัติศาสตร์ท้องถิ่นen_US
dc.subjectภาคกลางen_US
dc.subjectเรื่องเล่าจากท้องถิ่นen_US
dc.subjectการสังเคราะห์en_US
dc.titleท้องถิ่นภาคกลางท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง: บทสังเคราะห์จากโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลางen_US
dc.title.alternativeThe central region amid a wave of changes: a synthesis of research projects on local history of the central region by youth historiansen_US
dc.typeArticleen_US
dspace.entity.typePublication

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description:

Collections