Publication: พฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการสร้างนักพัฒนา คุณภาพรุ่นใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 6, (ส.ค. 2562), 19-26
Suggested Citation
กวิน ปลาอ่อน, พรนภัสส์ พราหมณ์โชติ, Kawin Pla-on, Pornnapat Pramchote พฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการสร้างนักพัฒนา คุณภาพรุ่นใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 6, (ส.ค. 2562), 19-26. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56377
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
พฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการสร้างนักพัฒนา คุณภาพรุ่นใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
Productive Work Behaviors of Mahidol University International College Staff Who Have Completed the Next-gen Quality Development Staff Project
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการสร้างนักพัฒนาคุณภาพรุ่นใหม่ของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้าหน่วยของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ และพนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานในสังกัดเดียวกับพนักงานที่เข้าร่วมโครงการและมีการปฏิบัติงานประสานหรือร่วมมือกัน จำนวนทั้งสิ้น 28 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างด้วยการวิเคราะห์ Independent – Samples T-Test และความแปรปรวนทิศทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า พนักงานที่เข้าร่วมโครงการสร้าง นักพัฒนาคุณภาพรุ่นใหม่มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพในระดับมาก ( X ̅= 3.96, S.D. = 0.62) โดย ด้านที่มีระดับการแสดงพฤติกรรมเชิงคุณภาพสูงที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติตามแผน เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างคุณลักษณะของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการด้านเพศ อายุ และระยะเวลาปฏิบัติงาน กับพฤติกรรมการทำงาน อย่างมีคุณภาพ พบว่า มีเพียงคุณลักษณะด้านอายุเท่านั้นที่ส่งผลให้พนักงานมีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research studied the productive work behaviors of Mahidol University International College staff that completed the Next-gen Quality Development Staff Project. Twelve staff members participated in the project. The study participants were 28 MUIC staff members consisting of chiefs, heads, and staffs who worked closely with the Next-gen Quality Development Staff Project participants. A questionnaire was used for collecting data. Statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and comparing between samples by Independent – Samples T-Test and one-way analysis of variance (one-way ANOVA). The result revealed that the productive work behaviors of staff members who have completed the project are at a significantly high level ( X ̅= 3.96, S.D. = 0.62), and the highest level was found in the aspect of implementation according to the plan. The comparison between staff members’ sex, age, work experience and productive work behaviors shows that only age affects their productive work behavior at a significance level of 0.05.
This research studied the productive work behaviors of Mahidol University International College staff that completed the Next-gen Quality Development Staff Project. Twelve staff members participated in the project. The study participants were 28 MUIC staff members consisting of chiefs, heads, and staffs who worked closely with the Next-gen Quality Development Staff Project participants. A questionnaire was used for collecting data. Statistics used for data analysis consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation and comparing between samples by Independent – Samples T-Test and one-way analysis of variance (one-way ANOVA). The result revealed that the productive work behaviors of staff members who have completed the project are at a significantly high level ( X ̅= 3.96, S.D. = 0.62), and the highest level was found in the aspect of implementation according to the plan. The comparison between staff members’ sex, age, work experience and productive work behaviors shows that only age affects their productive work behavior at a significance level of 0.05.