Publication: Implementation and Evaluation of Pharmaceutical Care Service for Refill Clinic at Ramathibodi Hospital
Issued Date
2009
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-3611 (Print)
2651-0561 (Online)
2651-0561 (Online)
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Department of Pharmacy Mettapracharak (Wat Rai Khing) Hospital
Department of Pharmacy Faculty of Pharmacy Mahidol University
Department of Community Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Department of Pharmacy Faculty of Pharmacy Mahidol University
Department of Community Medicine Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University
Bibliographic Citation
Ramathibodi Medical Journal. Vol. 32, No. 2 (Apr-Jun 2009), 86-94
Suggested Citation
Orapun Sripathomsawatdi, Petcharat Pongcharoensuk, Vijj Kasemsup, อรพรรณ ศรีปฐมสวัสดิ์, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, วิชช์ เกษมทรัพย์ Implementation and Evaluation of Pharmaceutical Care Service for Refill Clinic at Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Medical Journal. Vol. 32, No. 2 (Apr-Jun 2009), 86-94. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79890
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Implementation and Evaluation of Pharmaceutical Care Service for Refill Clinic at Ramathibodi Hospital
Alternative Title(s)
การดำเนินการและประเมินผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกในคลินิกเติมยา ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี
Abstract
A pharmaceutical care service (PCS) was initiated at refill clinic, Ramathibodi Hospital. The objective of this study was to implement and evaluate PCS program using Donabedian's (Structure-Process-Outcome) conceptualization. The study was divided into 4 phases; 1) project initiation, 2) preparation, 3) implementation, and 4) program assessment.
The project was approved in March 2007. In the preparation phase, all structures, work place, facilities (such as computer software), pharmacists, and work process were planned for the provision of PCS. During the one-year implementation phase (July 2007 to June 2008), a total of 2,155 patients with chronic diseases and stable condition were recruited to receive PCS together with refill prescribing process. The pharmacists recorded prescription data, provided pharmaceutical care services to 2,809 encounters, and gave 3,345 refill prescriptions. Between October 2007 and June 2008, 1,545 of the 2,548 encounters (60.64%) were returned for refills. Of these, 1,111 encounters (71.91%) were refilled with PCS process. For clinical outcomes, pharmacists interviewed 154 patients and identified 72 DTPs, 61.11% of which were non-compliance. When interventions are recommended for the problems, physicians accepted 86.36% of pharmacists' recommendations. For economic outcomes, benefit as drug cost saving (from duplicates and oversupplies) was 419,214.48 Baht and the benefit to cost ratio was 2.45 : 1. For humanistic outcomes, 95.2% of the respondents recommended their relatives or friends with problems or doubts about medication to receive PCS.
In conclusion, PCS could reduce DRPs and save drug cost. It is recommended that the program should be expanded to cover other groups of patients so as to achieve more efficient use of health resources.
มีการริเริ่มโครงการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกในคลินิกเติมยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการและประเมินผลโครงการการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรม โดยใช้หลักการของ Donabedian อันประกอบด้วยโครงสร้าง กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่วัดได้ การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ริเริ่มโครงการ 2) เตรียมการ 3) ดำเนินงาน และ 4) ประเมินโครงการ โครงการนี้ได้รับอนุมัติในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมีการดเตรียมโครงสร้าง เช่น สถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เภสัชกรผู้ให้บริการ และขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรม ผลจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 1 ปี (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2551) ให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่รวมทั้งสิ้น 2,155 คน โดยเภสัชกรทำหน้าที่บันทึกข้อมูลใบสั่งยาให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยจำนวน 2,809 ครั้ง และมีการจัดทำใบสั่งเติมยาจำนวน 3,345 ใบ ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 มีการนัดผู้ป่วยกลับมาเติมยาจำนวน 2,548 ครั้ง แต่มีผู้ป่วยกลับมาเติมยาเพียง 1,545 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 60.64 ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยกลับมารับบริการเติมยาในโครงการบริบาลทางเภสัชกรรมจำนวน 1,111 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 71.91 ของจำนวนผู้ป่วยที่กลับมาเติมยาทั้งหมด จากการประเมินผลลัพธ์ด้านคลินิกพบปัญหาจากการใช้ยาจำนวน 72 ปัญหา จากผู้ป่วยจำนวน 154 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาถึงร้อยละ 61.11 เมื่อเภสัชกรพบปัญหาแล้วปรึกษาแพทย์ พบว่าแพทย์ยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรถึงร้อยละ 86.36 ผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาจากปัญหาการสั่งยาซ้ำช้อนและจ่ายมากเกินความจำเป็นได้ถึง 419,214,48 บาท มีอัตราส่วนของผลลัพธ์ต่อต้นทุนการให้บริการเป็น 2.45:1 ส่วนผลลัพธ์ด้านมนุษยธรรมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 95.20 จะแนะนำให้ญาติหรือเพื่อนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยามารับบริการที่ห้องบริบาลทางเภสัชกรรมในครั้งต่อไป จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการให้บริบาลหาเภสัชกรรมสามารถช่วยลดปัญหาจากการใช้ยา และประหยัดค่าใช้จ่ายค้นยาได้ ดังนั้น จึงควรขยายการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมไปสู่ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ และเพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรสุขภาพ
มีการริเริ่มโครงการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยนอกในคลินิกเติมยา โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการและประเมินผลโครงการการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรม โดยใช้หลักการของ Donabedian อันประกอบด้วยโครงสร้าง กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ที่วัดได้ การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) ริเริ่มโครงการ 2) เตรียมการ 3) ดำเนินงาน และ 4) ประเมินโครงการ โครงการนี้ได้รับอนุมัติในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดยมีการดเตรียมโครงสร้าง เช่น สถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เภสัชกรผู้ให้บริการ และขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรม ผลจากการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 1 ปี (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2551) ให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่รวมทั้งสิ้น 2,155 คน โดยเภสัชกรทำหน้าที่บันทึกข้อมูลใบสั่งยาให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยจำนวน 2,809 ครั้ง และมีการจัดทำใบสั่งเติมยาจำนวน 3,345 ใบ ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 มีการนัดผู้ป่วยกลับมาเติมยาจำนวน 2,548 ครั้ง แต่มีผู้ป่วยกลับมาเติมยาเพียง 1,545 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 60.64 ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ป่วยกลับมารับบริการเติมยาในโครงการบริบาลทางเภสัชกรรมจำนวน 1,111 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 71.91 ของจำนวนผู้ป่วยที่กลับมาเติมยาทั้งหมด จากการประเมินผลลัพธ์ด้านคลินิกพบปัญหาจากการใช้ยาจำนวน 72 ปัญหา จากผู้ป่วยจำนวน 154 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาถึงร้อยละ 61.11 เมื่อเภสัชกรพบปัญหาแล้วปรึกษาแพทย์ พบว่าแพทย์ยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกรถึงร้อยละ 86.36 ผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาจากปัญหาการสั่งยาซ้ำช้อนและจ่ายมากเกินความจำเป็นได้ถึง 419,214,48 บาท มีอัตราส่วนของผลลัพธ์ต่อต้นทุนการให้บริการเป็น 2.45:1 ส่วนผลลัพธ์ด้านมนุษยธรรมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 95.20 จะแนะนำให้ญาติหรือเพื่อนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยามารับบริการที่ห้องบริบาลทางเภสัชกรรมในครั้งต่อไป จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการให้บริบาลหาเภสัชกรรมสามารถช่วยลดปัญหาจากการใช้ยา และประหยัดค่าใช้จ่ายค้นยาได้ ดังนั้น จึงควรขยายการให้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมไปสู่ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ และเพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรสุขภาพ