Publication: ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
Issued Date
2550
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 26, ฉบับที่ 1-2 (ม.ค.- ธ.ค. 2550), 132-142
Suggested Citation
เสาวภา พรสิริพงษ์, ธีรพงษ์ บุญรักษา, สุภาพร ฤดีจำเริญ, Saowapa Pornsiripongse, Theeraphong Boonrugsa, Supaporn Ruedeechamroen ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 26, ฉบับที่ 1-2 (ม.ค.- ธ.ค. 2550), 132-142. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56733
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
Abstract
บริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว และครัวเรือน ผู้สูงอายุที่เคยเป็นหัวหน้าครัวเรือน เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจและสวัสดิภาพของสมาชิกในครอบครัวถูกลดบทบาทลง ทำอย่างไรจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีบทบาท มีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าต่อสังคมและครอบครัว ความรู้สึกมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความเชื่อมั่นในตนเอง มีผลต่อสภาวะจิตใจที่ดี และมีผลต่อสุขภาพ
จากการทบทวนวรรณกรรมและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นในจังหวัดนครปฐม พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีอายุยืนยาว ได้แก่ ความรู้สึกมีศักดิ์ศรีและคุณค่า การมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิตที่เข้มงวดเกินไป และการมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นภายในครอบครัว
การจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าและศักดิ์ศรีนั้น ทั้งผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวต้องปรับตัวทั้งสองฝ่ายในส่วนผู้สูงอายุต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ว่า ผู้สูงอายุต้องทันสมัย แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องมีหน้าที่ในการทำให้ตนเองแข็งแรง ในส่วนของสมาชิกครอบครัวและสังคมควรเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่คุณค่า