Publication: การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี
dc.contributor.author | บัญญัติ ยงย่วน | en_US |
dc.contributor.author | ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะศึกษาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-02-26T04:18:20Z | |
dc.date.accessioned | 2017-09-13T01:41:40Z | |
dc.date.available | 2016-02-26T04:18:20Z | |
dc.date.available | 2017-09-13T01:41:40Z | |
dc.date.created | 2559-02-26 | |
dc.date.issued | 2553-11 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมศิลปะในบริบทที่องค์ประกอบของห้องเรียน ต่างกันที่ส่งผลต่อการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2549 จำนวน 114 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยห้อ งเรียน จำนวน 4 ห้อง ดังนี้ 1) ห้องเรียน ไทยพุทธ-ไทยมุสลิมที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 2) ห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิมที่เข้าร่วมกิจกรรม ศิลปะแบบปกติ 3) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 4) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบปกติ แบบแผนการทดลอง คือ แบบพหุเหตุปัจจัย แบบมีกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อน และหลังการทดลองที่มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม 2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติ และ 3) แบบวัดการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัย พบว่า มีกิริยาร่วมระหว่างกิจกรรมศิลปะและองค์ประกอบของห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ 1) นักเรียนห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม ยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนจากห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบปกติ 2) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากห้องเรียนไทยมุสลิมล้วนยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรมสูงกว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิม | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 16, ฉบับที่ 6 (2553), 954-972 | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2816 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.subject | การยอมรับความหลากหลายพหุวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | กิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | จังหวัดปัตตานี | en_US |
dc.subject | นักเรียนระดับประถมศึกษา | en_US |
dc.subject | elementary school students | |
dc.subject | multicultural art activities | |
dc.subject | Pattani province | |
dc.subject | respect for cultural diversity | |
dc.title | การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดปัตตานี | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |
dspace.entity.type | Publication | |
mods.location.url | http://edu.psu.ac.th/research/journal_academic.htm#2553 |