Publication: The actual and expected role of the advisors as perceived by the undergraduate students of Mahidol University International College in the academic year 2019
Issued Date
2019
Resource Type
Language
eng
ISSN
1513-8429
Bibliographic Citation
Interdisciplinary Studies Journal. Vol. 19 No. 2 (Jul - Dec 2019), 140-157
Suggested Citation
Randa Rujichinnawong The actual and expected role of the advisors as perceived by the undergraduate students of Mahidol University International College in the academic year 2019. Interdisciplinary Studies Journal. Vol. 19 No. 2 (Jul - Dec 2019), 140-157. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72052
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
The actual and expected role of the advisors as perceived by the undergraduate students of Mahidol University International College in the academic year 2019
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
The objective of this research was to study the opinions of students about the actual and expected roles of advisors as perceived by Mahidol University International College undergraduate students in the academic year 2019. The advisors’s role consisted of 5 aspects namely; academic, consulting method, personality, providing assistance to the students, and student development. Sample group of this study was the undergraduate students of Mahidol University International College who were studying in every year and enrolling in the academic year 2019, totally 427 students. The tool used in the study were a 3-part questionnaire consisting of part 1- general information of students, part 2- questionnaires about the actual and expected roles of the advisor as perceived by the students and part 3 – Questionnaires of students' opinions about advisors and expectations about the role of advisors expected by students in the future. Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation were used for data analysis. Result of the study showed that, in terms of the actual role of the advisor as perceived by the students, the results in overall 5 aspects were at a moderate level. When considering in each aspect, it was found that, the role that the advisors had actually performed in all aspects was at a moderate level, sorted by average from descending order are personality, student development, academic, providing assistance to students, and consulting method respectively. Concerning the expected role of students towards the advisors as perceived by the students, the results of 5 aspects were at a moderate level. When considering in each aspect, it was found that the expected role of students towards the advisors was at a moderate level, sorted by average from descending order were personality, providing assistance to students, academic, student development, and consulting method aspect. When comparing the roles that are actually performed and the expected roles of the advisors who have actually performed as perceived by the students, in overall, it was found that the actual and expected roles of the advisors from 5 aspects were at a moderate level except for the personality aspect, the students have high expectations from the advisors about it. About students' opinions and suggestions, the results showed that an advisor should be a faculty who taught only in the subjects that students were studying. One advisor should be responsible for students up to 20 per group and responsible throughout the study until graduation. Advisor should meet the whole group of students at least once a month. Additionally, when students need consultation, an appointment should be made prior to the meeting with the advisor at the time of appointment.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562 บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านวิธีการให้คำปรึกษา ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านการพัฒนานักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาทุกชั้นปี ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 427 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา และส่วนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาและความคาดหวังในด้านบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาคาดหวังไว้ในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทเป็นจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา ผลที่ได้ทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา สำหรับบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา เมื่อเปรียบเทียบบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงตามการรับรู้ของนักศึกษาโดยรวม พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาจากภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นในด้านบุคลิกภาพ นักศึกษามีความคาดหวังจากอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาควรเป็นอาจารย์ที่สอนในสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ควรรับผิดชอบดูแลนักศึกษาไม่เกิน 20 คนต่อกลุ่ม และรับผิดชอบตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาควรพบนักศึกษาทั้งกลุ่มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน และเมื่อนักศึกษาต้องการรับคำปรึกษาควรทำการนัดหมายก่อนเข้าพบอาจารย์ตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562 บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านวิธีการให้คำปรึกษา ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านการพัฒนานักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาทุกชั้นปี ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 427 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา และส่วนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาและความคาดหวังในด้านบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาคาดหวังไว้ในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทเป็นจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา ผลที่ได้ทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา สำหรับบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักศึกษาที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานักศึกษา และด้านวิธีการให้คำปรึกษา เมื่อเปรียบเทียบบทบาทที่ได้ปฏิบัติจริงและบทบาทที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติจริงตามการรับรู้ของนักศึกษาโดยรวม พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาจากภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นในด้านบุคลิกภาพ นักศึกษามีความคาดหวังจากอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับมาก สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาควรเป็นอาจารย์ที่สอนในสาขาวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ควรรับผิดชอบดูแลนักศึกษาไม่เกิน 20 คนต่อกลุ่ม และรับผิดชอบตลอดหลักสูตรจนจบการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาควรพบนักศึกษาทั้งกลุ่มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน และเมื่อนักศึกษาต้องการรับคำปรึกษาควรทำการนัดหมายก่อนเข้าพบอาจารย์ตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้