Publication: กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
Issued Date
2565
Resource Type
Resource Version
Accepted Manuscript
Language
tha
File Type
application/pdf
ISSN
2350-983x
Journal Title
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
Volume
9
Issue
2
Start Page
45
End Page
68
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2565), 45-68
Suggested Citation
You Xiaoyan, ธีรพงษ์ บุญรักษา, สิงหนาท น้อมเนียน, Theeraphong Boonrugsa, Singhanat Nomnian กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2565), 45-68. 68. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109428
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
Alternative Title(s)
Chinese University Students’ Learning Strategies of Thai as a Foreign Language in the Midst of the COVID-19 Pandemic
Author's Affiliation
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนที่เรียนวิชาภาษาไทยเป็นวิชาหลัก และศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศของนักศึกษาจีนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาจีนจำนวน 400 คน และใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการสัมภาษณ์นักศึกษาจีนจำนวน 10 คน และอาจารย์สอนภาษาไทยจำนวน 5 คน จากสถาบันการอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เปิดสอนวิชาเอกภาษาไทย จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน มหาวิทยาลัยยูนนาน มหาวิทยาลัยเกษตรยูนนาน มหาวิทยาลัยการเงินและเศรษฐศาสตร์ยูนนาน และมหาวิทยาลัยเหวินซาน งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของ Oxford (1990) ซึ่งประกอบไปด้วย 6 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ใช้ความจำ (memory strategies), กลยุทธ์ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ (cognitive strategies), กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสริมและการทดแทน (compensation strategies), กลยุทธ์เชิงอภิปัญญา (metacognitive strategies), กลยุทธ์เชิงวิภาพ (affective strategies) และกลยุทธ์เชิงสังคม (social strategies)
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากผลการสำรวจ พบว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นักศึกษาจีนใช้กลยุทธ์เชิงสังคมในการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศมากที่สุด (M = 3.29) รองลงมา ได้แก่ กลยุทธ์เชิงอภิปัญญา (M = 3.13) กลยุทธ์ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจ (M = 3.12) กลยุทธ์ที่ใช้ในการเสริมและการทดแทน (M = 3.07) กลยุทธ์เชิงวิ (M = 3.04) และ กลยุทธ์ที่ใช้ความจำ (M = 3.01) ตามลำดับ ผลการศึกษาข้างต้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษาจีน นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายยังพบว่า นักศึกษาจีนส่วนใหญ่ใช้ทั้งกลยุทธ์เรียนรู้ภาษาไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นักศึกษาจีนมีการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศอย่างหลากหลาย นอกเหนือจากการท่องจำแต่เพียงอย่างเดียว การวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า อาจารย์ ผู้ออกแบบหลักสูตร รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ควรมีการปรับหลักสูตรและแผนการสอนให้มีความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นักศึกษาควรได้มีโอกาสฝึกฝนใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาไทยอย่างหลากหลาย เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่ในการค้นหากลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาที่ตนเองถนัดในชั้นเรียน และสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองนอกชั้นเรียน
The objectives of this research were to survey the strategies of learning Thai as a foreign language among Chinese students studying Thai as the main subject and to explore the perceptions of Chinese students’ learning strategies for learning Thai as a foreign language during the COVID-19 pandemic. This research employed a mixed-method research approach which consisted of a questionnaire to collect data from a sample of 400 Chinese students and a semi-structured interview to interview 10 Chinese students and 5 teachers at 5 higher education institutions in the People’s Republic of China offering Thai language majors, namely Yunnan National University, Yunnan University, Yunnan Agricultural University, Yunnan University of Finance and Economics, and Wenshan University. The theoretical framework of this research is based on Oxford’s (1990) foreign language learning strategies: memory, cognitive, compensation, metacognitive, affective, and social. The results of the survey revealed that social strategies were used by Chinese students the most (M = 3.29), followed by metacognitive strategies (M = 3.13), cognitive strategies, (M = 3.12), compensation strategies (M = 3.07), affective Strategies (M = 3.04), and memory strategies (M = 3.01), respectively. These results were consistent with the findings from the interviews with Chinese students. Furthermore, the interview data indicated that Chinese students during the pandemic utilized various direct and indirect strategies for learning Thai as a foreign language besides memorization. Lastly, this study suggested teachers, curriculum designers, and all stakeholders to work together on developing quality, flexible, and adaptable face-to-face and online Thai foreign language courses during the pandemic. In the midst of the COVID-19 Pandemic, Chinese students should have an opportunity to explore Thai language learning strategies that fit the needs of them and allow them to utilize these learning strategies inside and outside the classroom.
The objectives of this research were to survey the strategies of learning Thai as a foreign language among Chinese students studying Thai as the main subject and to explore the perceptions of Chinese students’ learning strategies for learning Thai as a foreign language during the COVID-19 pandemic. This research employed a mixed-method research approach which consisted of a questionnaire to collect data from a sample of 400 Chinese students and a semi-structured interview to interview 10 Chinese students and 5 teachers at 5 higher education institutions in the People’s Republic of China offering Thai language majors, namely Yunnan National University, Yunnan University, Yunnan Agricultural University, Yunnan University of Finance and Economics, and Wenshan University. The theoretical framework of this research is based on Oxford’s (1990) foreign language learning strategies: memory, cognitive, compensation, metacognitive, affective, and social. The results of the survey revealed that social strategies were used by Chinese students the most (M = 3.29), followed by metacognitive strategies (M = 3.13), cognitive strategies, (M = 3.12), compensation strategies (M = 3.07), affective Strategies (M = 3.04), and memory strategies (M = 3.01), respectively. These results were consistent with the findings from the interviews with Chinese students. Furthermore, the interview data indicated that Chinese students during the pandemic utilized various direct and indirect strategies for learning Thai as a foreign language besides memorization. Lastly, this study suggested teachers, curriculum designers, and all stakeholders to work together on developing quality, flexible, and adaptable face-to-face and online Thai foreign language courses during the pandemic. In the midst of the COVID-19 Pandemic, Chinese students should have an opportunity to explore Thai language learning strategies that fit the needs of them and allow them to utilize these learning strategies inside and outside the classroom.