Publication: Effect of using supernatant for post-thawing solution and semen extender prior to insemination on sow reproductive performance
Issued Date
2010
Resource Type
Language
eng
ISSN
0125-6491
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Faculty of Veterinary Science Chulalongkorn University
Bibliographic Citation
Thai J Vet Med. Vol.40, No.2 (Jun 2010), 171-178
Suggested Citation
Cholthida Kasetrtut, Kampon Kaeoket Effect of using supernatant for post-thawing solution and semen extender prior to insemination on sow reproductive performance. Thai J Vet Med. Vol.40, No.2 (Jun 2010), 171-178. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1652
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Effect of using supernatant for post-thawing solution and semen extender prior to insemination on sow reproductive performance
Alternative Title(s)
ผลของการใช้สารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant) สําหรับเป็นสารละลาย เจือจางน้ําเชื้อแช่แข็งและเป็นสารละลายเจือจางน้ําเชื้อก่อนการผสมเทียมต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ของสุกรนาง
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
The objective of the present study was to determine the effects of using supernatant (seminal plasma: extender, 50:50 v/v) as post-thawing solution and semen extender on sow fertility. Fifteen sows were allocated into the following experimental groups: Groups A (control), sows (n=5) were inseminated with fresh semen, using a dose of 4x109 spermatozoa in 60 ml of Modena™ extender; Group B, sows (n=5) were inseminated with frozen semen (supplemented with 10 mM of L-cysteine), using a dose of 2x109 spermatozoa in 60 ml of supernatant (50% v/v of seminal plasma plus ModenaTM extender); Group C, sows (n=5) were inseminated with frozen semen (supplemented with 10 mM of L-cysteine), using a dose of 2x109 spermatozoa in 60 ml of Modena™ extender. All sows were inseminated twice using an intrauterine catheter depending on their weaning to oestrous interval (WOI). Pregnancy rate (PR), farrowing rate (FR), total number of piglet born (TNB) and number of piglet born alive (NBA) were recorded. In group A, the PR and FR were 100%, TNB and NBA were 7.8±3.9 and 7±3.9, respectively. For frozen semen, PR, FR, TNB and NBA in group B were higher than group C (100% versus 60%, 60% versus 0%, 6.0±2.7 versus 0, 6.0±2.7 versus 0, respectively). In conclusion, using supernatant (50% v/v of seminal plasma plus ModenaTM) as post-thawing solution and semen extender for artificial insemination in field condition improve sow fertility.
การศึกษาผลของการใช้สารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant ที่มี Seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) สำหรับเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อแช่แข็งและเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ของสุกรนาง ทำการศึกษาในสุกรนางทั้งหมด 15 ตัว โดยแบ่งสุกรออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่ม A เป็นกลุ่มควบคุมถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสด ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ 4x109 ตัว ปริมาตรน้ำเชื้อ 60 มล. และทำการเจือจางด้วยสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ ModenaTM กลุ่ม B ถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง (เติม L-cysteine, 10 mM) ที่เจือจางด้วยสารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant = ModenaTM+seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ เท่ากับ 2x109 ตัว ปริมาณน้ำเชื้อ 60 มล. และ กลุ่ม C ถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง(เติม L-cysteine, 10 mM) ที่เจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อ ModenaTM ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ 2x109 ตัว ปริมาตรน้ำเชื้อ 60 มล. สุกรนางทุกกลุ่มจะถูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมแบบสอดท่อลึกเข้าไปภายในตัวมดลูก (Intrauterine insemination, IUI) จำนวน 2 ครั้ง ระยะเวลาการผสมขึ้นอยู่กับระยะเวลาจากหย่านมถึงเป็นสัด จากนั้นเก็บข้อมูล อัตราการการตั้งท้อง อัตราเข้าคลอด จำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิตต่อครอก ซึ่งพบว่าสุกรนางในกลุ่ม A มีอัตราการตั้งท้องและอัตราเข้าคลอด 100% ให้จำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิต 7.8±3.9 และ 7±3.9 ตามลำดับ ในขณะที่สุกรนางในกลุ่มน้ำเชื้อแช่แข็ง กลุ่ม B มีอัตราการตั้งท้อง อัตราเข้าคลอดจำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิตมากกว่าสุกรนางในกลุ่ม C (100% เทียบกับ 60%, 60% เทียบกับ 0% ตามลำดับ; 6±2.7 ตัว เทียบกับ 0 ตัว และ 6±2.7 ตัว เทียบกับ 0 ตัว ตามลำดับ) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant ที่มี seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) สำหรับเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อแช่แข็งและเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อสำหรับการผสมเทียมในภาคสนามเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของสุกรนางได้
การศึกษาผลของการใช้สารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant ที่มี Seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) สำหรับเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อแช่แข็งและเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อต่อประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ของสุกรนาง ทำการศึกษาในสุกรนางทั้งหมด 15 ตัว โดยแบ่งสุกรออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่ม A เป็นกลุ่มควบคุมถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสด ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ 4x109 ตัว ปริมาตรน้ำเชื้อ 60 มล. และทำการเจือจางด้วยสารละลายเจือจางน้ำเชื้อ ModenaTM กลุ่ม B ถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง (เติม L-cysteine, 10 mM) ที่เจือจางด้วยสารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant = ModenaTM+seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ เท่ากับ 2x109 ตัว ปริมาณน้ำเชื้อ 60 มล. และ กลุ่ม C ถูกผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อแช่แข็ง(เติม L-cysteine, 10 mM) ที่เจือจางด้วยสารละลายน้ำเชื้อ ModenaTM ที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ได้ 2x109 ตัว ปริมาตรน้ำเชื้อ 60 มล. สุกรนางทุกกลุ่มจะถูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมแบบสอดท่อลึกเข้าไปภายในตัวมดลูก (Intrauterine insemination, IUI) จำนวน 2 ครั้ง ระยะเวลาการผสมขึ้นอยู่กับระยะเวลาจากหย่านมถึงเป็นสัด จากนั้นเก็บข้อมูล อัตราการการตั้งท้อง อัตราเข้าคลอด จำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิตต่อครอก ซึ่งพบว่าสุกรนางในกลุ่ม A มีอัตราการตั้งท้องและอัตราเข้าคลอด 100% ให้จำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิต 7.8±3.9 และ 7±3.9 ตามลำดับ ในขณะที่สุกรนางในกลุ่มน้ำเชื้อแช่แข็ง กลุ่ม B มีอัตราการตั้งท้อง อัตราเข้าคลอดจำนวนลูกสุกรต่อครอกและจำนวนลูกสุกรมีชีวิตมากกว่าสุกรนางในกลุ่ม C (100% เทียบกับ 60%, 60% เทียบกับ 0% ตามลำดับ; 6±2.7 ตัว เทียบกับ 0 ตัว และ 6±2.7 ตัว เทียบกับ 0 ตัว ตามลำดับ) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้สารละลายส่วนใสที่ได้จากการปั่นเหวี่ยง (Supernatant ที่มี seminal plasma ร้อยละ 50 โดยปริมาตร) สำหรับเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อแช่แข็งและเป็นสารละลายเจือจางน้ำเชื้อสำหรับการผสมเทียมในภาคสนามเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของสุกรนางได้