Publication: การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2560
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), 56-69
Suggested Citation
จุฑารัตน์ ทิพย์บุญทรัพย์, ศศิธร โรจน์สงคราม การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), 56-69. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/55094
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
An Exploratory of Student Engagement between Undergraduates and Mahidol University International College
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษานั้นได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทยการศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรนานาชาตินั้นยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการศึกษา โดยการวิจัยครั้งนั้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2557-2558 จำนวน 358 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 37 ข้อ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.933 (Cronbach’s Alpha) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) จากข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษาผู้วิจัยพบว่า ความแตกต่างกันของ เพศ หลักสูตร และผลการเรียนไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลับพบว่า
ข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษา ได้แก่ ชั้นปี การเข้าร่วมกิจกรรมกลางของวิทยาลัยและการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม/สโมสรนักศึกษส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความภาคภูมิใจต่อวิทยาลัย สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย ความผูกพันต่ออาจารย์ ความผูกพันต่อเจ้าหน้าที่ ความผูกพันต่อรุ่นพี่/รุ่นน้องและความผูกพันต่อเพื่อน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
The study aimed to explore the level of the student engagement between undergraduates and an international college, as well as investigating potential factors that affect the level of interaction. Participants were a cross-sectional sample of Thai undergraduates, from first to fourth year of study, that were registered for classes during the 2014/2015 school year. A stratified random-sampling technique was used to select the students that filled out the survey. A rating-scale questionnaire with 37 items was used as the tool to collect data, and descriptive statistics, correlation analysis, and stepwise multiple regression was used for analysis. The findings showed a high degree of engagement between students and the institution. The students' demographic and academic achievement had no significant effect on this level of engagement with the Mahidol University International College. The factors that did have an effect were year of study and participation in university-level and faculty-level clubs, and student government (p>.05). The college environment, lecturers, staff, peers, and friends had even a higher significance level (p = .01).
The study aimed to explore the level of the student engagement between undergraduates and an international college, as well as investigating potential factors that affect the level of interaction. Participants were a cross-sectional sample of Thai undergraduates, from first to fourth year of study, that were registered for classes during the 2014/2015 school year. A stratified random-sampling technique was used to select the students that filled out the survey. A rating-scale questionnaire with 37 items was used as the tool to collect data, and descriptive statistics, correlation analysis, and stepwise multiple regression was used for analysis. The findings showed a high degree of engagement between students and the institution. The students' demographic and academic achievement had no significant effect on this level of engagement with the Mahidol University International College. The factors that did have an effect were year of study and participation in university-level and faculty-level clubs, and student government (p>.05). The college environment, lecturers, staff, peers, and friends had even a higher significance level (p = .01).