Publication: Students’ Opinions towards Online Registration Problems Experienced with the SKY System of Mahidol University International College
Issued Date
2021
Resource Type
Language
eng
ISSN
1513-8429
Rights
Mahidol University
Rights Holder(s)
Mahidol University International College Mahidol University
Bibliographic Citation
Interdisciplinary Studies Journal. Vol. 21 No. 1 (Jan - Jun 2021), 200-219
Suggested Citation
Randa Rujichinnawong Students’ Opinions towards Online Registration Problems Experienced with the SKY System of Mahidol University International College. Interdisciplinary Studies Journal. Vol. 21 No. 1 (Jan - Jun 2021), 200-219. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72053
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
Students’ Opinions towards Online Registration Problems Experienced with the SKY System of Mahidol University International College
Alternative Title(s)
ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อระบบการลงทะเบียนออนไลน์บน SKY System วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
This research aimed at studying students' opinions about the online registration system on the SKY System in 5 aspects, consisting of 1) the aspects of the easiness to the students 2) the aspects of speediness and stability of the system 3) the aspects of information accuracy, 4) the aspects of the function of operation and 5) the aspects of facilities of the Information Technology Department. Samples used in this study were students of Mahidol University International College in the academic year 2019-2020, 420 students in total. Research instrument of the study was the online questionnaire. Statistics used were Percentage, Mean, Standard Deviation, T-value test, and Analysis of variance. Results of the study showed that the students agreed at a moderate level on the overall system. However, when considering in each aspect, it was found that students agreed on the system in the aspect of the accuracy of the information at a high level as students found that the system processed and displayed wrong results, misspelling occurred, and the system had a high level of error information. In addition, students had opinion on the system in the aspect of the function of operation at a moderate level. They agreed at a high level that the full course queuing registration system was inefficient. In terms of students’ opinions on the system in the aspect on facilities of the Information Technology Department, the aspect on the easiness to the students, and the aspect on speediness and stability of the system were at a moderate level. From the results of the analysis by classification according to personal data variables, it was found that male and female students had no different opinions on the system in all aspects, but students of each year and each programs had different opinions towards the aspect on information accuracy. Additionally, students in each year had different opinions about the aspect on the easiness to the students. The results obtained from the study will be presented to the executives and the department in charge in order to improve and develop the system for higher efficiency.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อระบบลงทะเบียนออนไลน์บน SKYS System 5 ด้าน คือ 1) ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน 2) ด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ 3) ด้านความถูกต้องของข้อมูล 4) ด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน และ 5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยต่อระบบโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยต่อระบบด้านความถูกต้องของข้อมูลในระดับมาก โดยเห็นว่าระบบมีการประมวลผลและการแสดงผลที่ผิดพลาด มีการสะกดคำผิด และระบบมีข้อมูลที่ผิดพลาดในระดับมาก และนักศึกษามีความเห็นต่อระบบด้านฟังก์ชั่นการใช้งานในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาเห็นด้วยในระดับมากเรื่องระบบการเข้ารอคิวรายวิชาที่เต็มไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนความเห็นของนักศึกษาต่อระบบด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และด้านความเร็วและความเสถียรของระบบอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลพบว่านักศึกษาชายและหญิงมีความเห็นไม่แตกต่างกันต่อระบบในทุกด้าน แต่นักศึกษาแต่ละชั้นปี และนักศึกษาแต่ละหลักสูตรมีความคิดเห็นต่อระบบแตกต่างในด้านความถูกต้องของข้อมูล นอกจากนี้นักศึกษาแต่ละชั้นปียังมีความเห็นแตกต่างกันด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาจะนำเสนอต่อผู้บริหารและส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลระบบ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อระบบลงทะเบียนออนไลน์บน SKYS System 5 ด้าน คือ 1) ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน 2) ด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ 3) ด้านความถูกต้องของข้อมูล 4) ด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน และ 5) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2562-2563 จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยต่อระบบโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยต่อระบบด้านความถูกต้องของข้อมูลในระดับมาก โดยเห็นว่าระบบมีการประมวลผลและการแสดงผลที่ผิดพลาด มีการสะกดคำผิด และระบบมีข้อมูลที่ผิดพลาดในระดับมาก และนักศึกษามีความเห็นต่อระบบด้านฟังก์ชั่นการใช้งานในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาเห็นด้วยในระดับมากเรื่องระบบการเข้ารอคิวรายวิชาที่เต็มไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนความเห็นของนักศึกษาต่อระบบด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และด้านความเร็วและความเสถียรของระบบอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลพบว่านักศึกษาชายและหญิงมีความเห็นไม่แตกต่างกันต่อระบบในทุกด้าน แต่นักศึกษาแต่ละชั้นปี และนักศึกษาแต่ละหลักสูตรมีความคิดเห็นต่อระบบแตกต่างในด้านความถูกต้องของข้อมูล นอกจากนี้นักศึกษาแต่ละชั้นปียังมีความเห็นแตกต่างกันด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาจะนำเสนอต่อผู้บริหารและส่วนงานที่รับผิดชอบดูแลระบบ เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น