Publication: “งานประเพณีทิ้งกระจาด” : พื้นที่นำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่
Issued Date
2563
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2563), 46-64
Suggested Citation
ไกรวิสุทธิ์ รณขัณฑ์ทอสกุล, วีรานันท์ ดำรงสกุล, Kraivisut Ronnakhanthosakul, Weeranan Damrongsakul “งานประเพณีทิ้งกระจาด” : พื้นที่นำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ 39, ฉบับที่ 2 (ก.ค. - ธ.ค. 2563), 46-64. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60831
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
“งานประเพณีทิ้งกระจาด” : พื้นที่นำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่
Alternative Title(s)
“Ting–Krajad” Chinese festivals: The spatiotemporal representation of Chinese–Thai identity in Lao Zhou alley, Chiang Mai province
Abstract
บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงการนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนชุมชนตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านงานประเพณี
ทิ้งกระจาดในฐานะเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยมีข้อสมมุติฐานที่ว่าประเพณีงานทิ้งกระจาดเป็นหนึ่งในกลไกของการธำรงอัตลักษณ์เพื่อรักษาความเข้มแข็งทางสังคมของชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้ ค่านิยมร่วมกัน การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการลงพื้นที่การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพิธีกรรมงานประเพณีทิ้งกระจาด ณ ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า งานประเพณีทิ้งกระจาดของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนในตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่ แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์เชิงซ้อนที่ผสมผสานอัตลักษณ์ระหว่างความเป็น “คนเมือง” “คนไทย” และ “คนจีน” ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ “ศาลเจ้ากวนอู” ที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการค้าขายของคนในชุมชน วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของญาติพี่น้อง ดวงวิญญาณเร่ร่อน พเนจร และยังเป็นการแจกทานให้แก่ผู้ยากไร้ ดังนั้นการนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนในงานพิธีกรรมงานประเพณีทิ้งกระจาดจึงนับว่าเป็นกลไกในการธำรงอัตลักษณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อยู่ท่ามกลางความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมด้านการค้าและตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
This article is based on a qualitative research aiming to illustrate the representation of “Ting-Krajad” festival in terms of the Chinese-Thai identity in the Lao Zhou Alley community in Chiang Mai province. The “Ting-Krajad” festival is part of a dynamic process that helps to strengthen the identity of this Chinese-Thai community, where perceptions and values are shared within this multicultural context. Drawing upon documentary analysis methodology, in-depth interviews and observation were conducted on key informants, including the “Guan Yu” Chinese shrine keeper, members of the shrine, and villagers during the festival held in Lao Zhou Alley in Chiang Mai. The results suggest that multiple representations of identity are constructed by the local community and visitors to the Guan Yu Shrine, which serves as a central space for the souls of the community. However, events that make up the Ting-Krajad festival have adopted a pattern of identity representation that incorporates “Thai”, “Lanna” and “Chinese” forms of faith as part of the traditional Ting-Krajad rituals. This manifests their multiple identities and provides an important mechanism for the preservation of the essence of Chinese culture, a dimension that is relevant to the current multicultural context and economy of Chiang Mai.
This article is based on a qualitative research aiming to illustrate the representation of “Ting-Krajad” festival in terms of the Chinese-Thai identity in the Lao Zhou Alley community in Chiang Mai province. The “Ting-Krajad” festival is part of a dynamic process that helps to strengthen the identity of this Chinese-Thai community, where perceptions and values are shared within this multicultural context. Drawing upon documentary analysis methodology, in-depth interviews and observation were conducted on key informants, including the “Guan Yu” Chinese shrine keeper, members of the shrine, and villagers during the festival held in Lao Zhou Alley in Chiang Mai. The results suggest that multiple representations of identity are constructed by the local community and visitors to the Guan Yu Shrine, which serves as a central space for the souls of the community. However, events that make up the Ting-Krajad festival have adopted a pattern of identity representation that incorporates “Thai”, “Lanna” and “Chinese” forms of faith as part of the traditional Ting-Krajad rituals. This manifests their multiple identities and provides an important mechanism for the preservation of the essence of Chinese culture, a dimension that is relevant to the current multicultural context and economy of Chiang Mai.