Publication:
การศึกษาเปรียบเทียบบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจากมหาวิทยาลัยที่ติด 100 อันดับแรกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเฉพาะสาขาโดย QS และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

dc.contributor.authorกุลชา เลิศสิทธิพันธ์
dc.contributor.authorสุทธิศักดิ์ ศรีสวัสดิ์
dc.contributor.authorKullacha Lertsittiphan
dc.contributor.authorSutthisak Srisawad
dc.date.accessioned2025-04-29T08:33:17Z
dc.date.available2025-04-29T08:33:17Z
dc.date.created2568-04-29
dc.date.issued2564
dc.date.received2563-05-09
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวชี้วัดในระดับมหาวิทยาลัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ระหว่างมหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก 3 ประเภท ได้แก่ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกโดย UI การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลกโดย QS สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร การศึกษานี้เก็บข้อมูลจำนวนบทความวิจัยในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล ISI และ Scopus และใช้สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลแบบไม่อิงพารามิเตอร์ได้แก่ Kruskal-Wallis Testผลการศึกษาจากการเก็บข้อมูลจำนวน 191 มหาวิทยาลัย พบว่า มหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 โดยการจัดอันดับของ UI มีความโดดเด่นของบทความวิจัยในด้านความยั่งยืนและเทคโนโลยีสะอาด ธุรกิจและการจัดการ เศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์โดยเฉพาะประเด็นเรื่องพลังงานหมุนเวียน มหาวิทยาลัยที่ติด 1 ใน 100 โดยการจัดอันดับของ QS สาขาการเกษตรมีความโดดเด่นในงานวิจัยสาขานิเวศวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนมหาวิทยาลัยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมพบว่ามีความโดดเด่นเพียงประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยส่วนมากมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีชื่อเสียงในระดับโลก และมีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ที่หลากหลายสาขา จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึง การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์กับมหาวิทยาลัยที่มีความต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนได้ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน การจัดการพลังงานหมุนเวียนที่จะส่งผลโดยตรงต่อหลักการสร้างความสมดุลทั้ง 3 มิติ คือด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และสังคม
dc.description.abstractThis study aimed to indicate the guidance for quality assessment of UI GreenMetric World University Rankings, a tool to measure the potential of universities in environmental and sustainable development. To do so, the main interesting study is the benchmarking of quantitative university indicators in the international research publications that relevant to the environment and sustainability among top 100 universities specific in three ranking systems, (UI GreenMetric, QS World University Rankings by Environment Sciences Subjects and QS World University Rankings by Agricultural & Forestry Subjects). This study collected the number of international research articles from two databases, ISI and Scopus, using Kruskal-Wallis Test statistic for nonparametric data analysis. The results of the data collection from 191 universities revealed that universities ranked by UI GreenMetric are distinguished in the research field of sustainability and green technology, business and management, economics and engineering especially renewable energy topic. The universities ranked by the QS rankings in agriculture subject are distinguished in the field of ecology, agricultural sciences and climate change topic. Lastly, the results in field of environment science subjects were outstanding only the climate change issues, which participated universities were large and famous, there were numerous publications in many fields. The results shown that the UI GreenMetric can be a useful tool or guideline for universities that want to develop their environmental and sustainability capabilities, especially on the issue of sustainable or renewable energy management causing a direct effect on the principles of three dimensional of sustainable, namely environmental, economic and social.
dc.format.extent13 หน้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2564), 149-161
dc.identifier.doihttps://doi.org/10.14456/jmu.2021.43
dc.identifier.issn2392-5515
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109828
dc.language.isotha
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก
dc.subjectผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
dc.subjectWorld University Rankings
dc.subjectQS Rankings
dc.subjectUI GreenMetric
dc.subjectEnvironment and Sustainability Research Publications
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจากมหาวิทยาลัยที่ติด 100 อันดับแรกในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเฉพาะสาขาโดย QS และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของโลกโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย
dc.title.alternativeBenchmarking Environmental and Sustainability Research Publications of Top 100 Universities in QS World University Rankings by Subjects and UI GreenMetric Rankings
dc.typeResearch Article
dcterms.accessRightsopen access
dcterms.dateAccepted2564-01-20
dspace.entity.typePublication
oaire.citation.endPage161
oaire.citation.issue3
oaire.citation.startPage149
oaire.citation.titleวารสาร Mahidol R2R e-Journal
oaire.citation.volume8
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยนานาชาติ
oairecerif.author.affiliationมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
muic-ar-kullacha-2564.pdf
Size:
407.23 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

Collections