คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า
Issued Date
2565
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
64 หน้า, Full Text (Intranet only)
Access Rights
restricted access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
ณีรนุช สินธุวานนท์, อรณิช ตั้งนิรามัย (2565). คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109730
Title
คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า
Author(s)
Author's Affiliation
Abstract
โรคอัมพาตใบหน้า (Facial paralysis) หรือ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (cranial nerve 7) ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง โดยส่วนมากผู้ป่วยมักอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง และร้อยละ 0.3 เกิดการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งสองข้าง ในปัจจุบันมีอัตราการเกิดโรคประมาณ 11-40 ต่อ 100,000 คนในประชากรทั่วโลก และพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-39 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ ผู้ที่มีภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะครรภ์เป็นพิษและหญิงตั้งครรภ์ปกติ สาเหตุอาจเกิดได้หลายประการ เช่น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่แตกตีบตัน มีเนื้องอกกดเบียดในเนื้อสมอง อุบัติเหตุจากศีรษะกระแทก ซึ่งเป็นการบาดเจ็บของสมองส่วนบน (Upper motor neuron) ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งมาเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับสมองที่มีความผิดปกติได้ หรือการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 80.00-90.00 โดยกลุ่มเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยคือกลุ่ม Herpes simplex หรือในบางรายไม่ทราบสาเหตุ มักพบพยาธิสภาพที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Lower motor neuron) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงใบหน้าครึ่งซีกด้านเดียวกัน โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยักคิ้วขึ้นได้ เปลือกตาปิดไม่สนิท ในบางรายเกิดน้ำตาไหลตลอดเวลาจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตาติดเชื้อได้ บริเวณมุมปากและแก้มตกหรือเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ไม่สามารถยิ้มได้ ผู้ป่วยมักเกิดความยากลำบากในการแสดงสีหน้าอารมณ์ การสื่อสาร การบดเคี้ยวอาหาร และอาจมีการรับรู้รสชาติอาหารผิดปกติไป ถึงแม้ความผิดปกติที่เกิดจะไม่มีผลอันตรายต่อชีวิต แต่มักส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยมักมีภาวะเครียด มีความกังวลใจขณะแสดงสีหน้า อารมณ์ทางใบหน้าเกิดความไม่มั่นใจ ส่งผลให้หลีกหนีการเข้าหาสังคม การรักษาทางกายภาพบำบัดหนึ่งในสหวิชาชีพที่มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดมีหลากหลายวิธีเช่น การประคบอุ่น การกระตุ้นไฟฟ้า การยืดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้าเพื่อคงความสามารถในการใช้งานของกล้ามเนื้อใบหน้าและชะลอการฝ่อลีบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย จากสถิติการให้บริการผู้ป่วยนอกของคลินิกกายภาพระบบประสาท ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีจำนวนมากเป็นอันดับสาม รองจากผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขาครึ่งซีก และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ตามลำดับ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากรูปแบบการดำเนินชีวิต การบริโภค การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ความรุนแรงจากเชื้อโรคในปัจจุบัน รวมถึงภาวะความเครียดและการพักผ่อนที่น้อยลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง จนไม่สามารถจัดการกับเชื้อโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายได้ ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อให้นักกายภาพบำบัดหรือบุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย