ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการของหน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2561
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
จิรายุ ธนาวุฒิ, อารีรัตน์ บุญทองสุข (2561). ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการของหน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63115
Title
ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการของหน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนต่อการให้บริการ เปรียบเทียบความพึงพอใจจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบค่าที่ในกรณีตัวแปรต้น 2 กลุ่ม และทดสอบค่าเอฟ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย
พบว่า 1. ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05 คะแนน) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเท่าเทียมกันในการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31 คะแนน) ส่วนด้านความต่อเนื่องในการให้บริการ ด้านความก้าวหน้าในการให้บริการ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และด้านความเพียงพอใน
การให้บริการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.17, 4.12, 3.39 และ 3.71 คะแนน ตามลำดับ)
2. ผู้ปฏิบัติงานประเภทสนับสนุนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันประกอบด้วย เพศ หน่วยงานที่สังกัด ระดับการศึกษา และสถานภาพของบุคลากร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05
3. ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ ความต่อเนื่องและความก้าวหน้าในการให้บริการ และความเพียงพอในการให้บริการ เพื่อให้ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น และแนวทางการพัฒนา ควรลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้น้อยลง ปรับเปลี่ยนรูปแบบของเอกสารที่มีความซับซ้อน เพื่อที่ให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น และเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารและให้บริการกับผู้มารับบริการ
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 167