สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่ผู้สูงอายุดูแลเด็กตามลำพัง และบริการทางสังคมสำหรับครอบครัว

dc.contributor.authorชัยณรงค์ ยิ้มน้อยen_US
dc.contributor.authorสาวิตรี ทยานศิลป์en_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวen_US
dc.date.accessioned2016-04-08T03:29:08Z
dc.date.accessioned2019-05-13T06:40:51Z
dc.date.available2016-04-08T03:29:08Z
dc.date.available2019-05-13T06:40:51Z
dc.date.created2016-04-08
dc.date.issued2553
dc.descriptionเอกสารประกอบงานประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา ปี 2553 “ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ สู้วิกฤตครอบครัวไทย. (หน้า 37-42). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
dc.description.abstractสภาพการดำเนินชีวิตของกลุ่มตัวอย่างครอบครัวที่ผู้สูงอายุเลี้ยงเด็กตามลำพัง ส่วนใหญ่มีโครงสร้างครอบครัวเป็นลักษณะที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับเด็กเพียงสองวัยเท่านั้น และส่วนมากผู้สูงอายุเพศหญิงในครอบครัวจะเป็นผู้หารายได้หลักเพื่อมาใช้จ่ายในครอบครัว แต่ในบางครอบครัวไม่ต้องประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ เนื่องจากได้รับเงินจากบุตรหลาน ผู้สูงอายุในครอบครัวกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจทั้งสภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวและพัฒนาการของบุตรหลาน และสามารถจัดหาปัจจัยสี่ รวมทั้งสามารถส่งเสียบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ถ้าพิจารณาจากการประเมินพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญาโดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญา (TONI-III) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ตามช่วงอายุ ของกรมสุขภาพจิต พบว่าพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กส่วนใหญ่นั้นอยู่ในระดับปกติและสูงกว่าเกณฑ์ปกติ จะมีเพียงเด็ก 2 คนจาก 2 ครอบครัวเท่านั้นที่มีผลการทดสอบต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย ปัญหาที่สำคัญของครอบครัวกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นั้นเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยบริการทางสังคมที่ได้รับหลักๆ คือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นบริการทางสังคมที่รัฐให้แก่ผู้สูงอายุทุกคนในทุกเดือน ซึ่งจากครอบครัวที่ได้เก็บข้อมูลมานั้นมีเพียง 1 ครอบครัวจาก 5 ครอบครัวที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีบัตรประกันสุขภาพ ทั้งเด็กและผู้สูงอายุที่มีบัตรทองมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลฟรี โดยสำหรับผู้สูงอายุนั้นยังมีช่องทางด่วนสำหรับการรักษาพยาบาลอีกด้วย สำหรับโครงการเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนฟรีและมีค่าอุปกรณ์การศึกษาและค่าชุดนักเรียน ซึ่งช่วยให้เด็กได้เข้าถึงระบบการศึกษามากขึ้น แต่มีปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ เด็กไม่มีงบประมาณในการเดินทางไปโรงเรียนและงบประมาณอาหารกลางวัน ทำให้เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ และจากการสัมภาษณ์หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความคิดเห็นว่าบริการทางสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเหล่านี้ได้อย่างไม่ยั่งยืนนัก การช่วยเหลือยังค่อนข้างจำกัดเพราะเป็นการทำงานแบบแยกส่วนและผลักภาระงานระหว่างหน่วยงานกันอีกด้วย เพราะฉะนั้นในการวางแนวทางเพื่อพัฒนาครอบครัวไทยจึงควรมี 5 กระทรวงหลักในการร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหา ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงวัฒนธรรมen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/43875
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชen_US
dc.subjectครอบครัวen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectบริการทางสังคมen_US
dc.subjectการดำเนินชีวิตen_US
dc.titleสภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่ผู้สูงอายุดูแลเด็กตามลำพัง และบริการทางสังคมสำหรับครอบครัวen_US
dc.typeProceeding Booken_US
mods.location.urlhttp://www.thaifamilystudy.com/report/

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
cf-pc-sawitree-2553.pdf
Size:
347.26 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: