คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
dc.contributor.author | สิริจิตต์ รัตนมุสิก | |
dc.date.accessioned | 2025-04-24T07:29:12Z | |
dc.date.available | 2025-04-24T07:29:12Z | |
dc.date.created | 2568-04-24 | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.description.abstract | โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การเสื่อมตามอายุ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ อายุที่เพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีการสึกกร่อนจากการใช้งาน การขยับและการรับน้ำหนักในท่าทางต่าง ๆ มีผลทำให้กระดูกอ่อน ข้อต่อและโครงสร้างในข้อเข่าเกิดการเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพของประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดเป็น 1 ใน 10 โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดความทุพพลภาพในผู้สูงอายุ (ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 2554) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้ยาหรือการรักษาด้วยวิธีการประคับประคองแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอาการปวดเข่า ช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเดิน เคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (Wallis & taylor, 2011; Hanusch,O'connor, lons, Scott, & Gregg,2014) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดใหญ่ ทำให้มีการบาดเจ็บและฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า มีความปวดรุนแรงมากที่สุดในระยะหลังผ่าตัด เมื่อมีอาการปวดมาก ผู้ป่วยจะอยู่นิ่งๆ มีการเคลื่อนไหวลดลง โดยเฉพาะขาข้างที่ผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยไม่ค่อยออกกำลังกายเพราะกลัวเจ็บปวด ไม่กล้าลงเดิน ไม่มั่นใจในการเดิน มักลดหรือหยุดกิจกรรมในการเคลื่อนไหว เนื่องจากไม่กล้าบริหารข้อเข่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อเข่างอได้ไม่สุด และไม่สามารถเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจ ความเป็นอิสระของตนเอง ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายลดลง ในระยะยาวทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบและข้อติดแข็ง ส่งผลให้อยู่ในภาวะพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น นอกจากส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้วยังส่งผลต่อด้านจิตใจและสังคมด้วย (มนทกานต์ ยอดราช, 2557) ภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมจะสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้นกว่าก่อนผ่าตัด เนื่องจากผิวข้อที่เสื่อมสภาพได้ถูกทดแทนด้วยผิวข้อใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดอีกต่อไป สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาส่งปรึกษากายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพข้อเข่าและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่าก่อนและหลังการผ่าตัด (คู่มือการฟื้นฟูผู้สูงอายุหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, 2558) ดังนั้น คู่มือเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อส่งเสริมการทำงานของข้อเข่าภายหลังการผ่าตัดให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น | |
dc.format.extent | 69 หน้า, Full Text (Intranet only) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109729 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | กายภาพบำบัด | |
dc.subject | ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม | |
dc.subject | การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม | |
dc.subject | ข้อเข่าเทียม | |
dc.subject | นักกายภาพบำบัด | |
dc.subject | คู่มือปฏิบัติงาน | |
dc.subject | ผลงานการขอเลื่อนตำแหน่ง | |
dc.subject | ผลงานบุคลากรสายสนับสนุน | |
dc.title | คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม | |
dc.type | Work Manual | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://intranet.mahidol/op/orpr/newhr/wp-content/uploads/2024/04/manual-by-sirijit-rattanamusik.pdf | |
oairecerif.author.affiliation | มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก |