Browsing by Author "ทรงพล เลิศกอบกุล"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Item Metadata only เพลงตันหยงในวัฒนธรรมพื้นที่รอบอ่าวพังงา(มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559) ทรงพล เลิศกอบกุล; สนอง คลังพระศรี; อนรรฆ จรัณยานนท์; ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์การวิจัยเรื่อง เพลงตันหยงในวัฒนธรรมพื้นที่รอบอ่าวพังงา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการ บทบาทหน้าที่และการปรับเปลี่ยน ตลอดจนลักษณะทางดนตรีของเพลงตันหยงในวัฒนธรรมพื้นที่รอบอ่าว พังงา มีผลการวิจัย ดังนี้ เพลงตันหยงเป็นวัฒนธรรมการละเล่นของผู้คนในชุมชนพื้นที่รอบอ่าวพังงา มีพัฒนาการมาจากรองเง็งของชาวเล ด้วยกระบวนการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมพื้นที่และพัฒนาการของสังคม แต่เดิมรองเง็งเป็นการละเล่นที่แพร่หลายในคาบสมุทรมลายูตอนใต้เขตประเทศมาเลเซีย ต่อมาจึงกระจายเข้ามาในชุมชนพื้นที่รอบอ่าวพังงาด้วยเส้นทางเดินเรือเลียบชายฝั่งทะเลอันดามันในราวทศวรรษ 2470 เริ่มนิยมแพร่หลายในบริเวณอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งที่มีผู้คนสื่อสารกันด้วยภาษาไทยถิ่นใต้ ทำให้รองเง็งปรับเปลี่ยนรูปแบบดนตรีและการแสดงตามวัฒนธรรมพื้นที่ด้วยการใช้เนื้อร้องภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีฉันทลักษณ์แบบเพลงกล่อมเด็ก แทนฉันทลักษณ์กลอนปันตุน ภาษามลายู โดยมีรูปแบบการขึ้นต้นบทร้องว่า "ตันหยง" และ กลายเป็นชื่อเรียกการละเล่นเพลงตันหยงที่มีพัฒนาการด้านวงดนตรี บทเพลง และรูปแบบการละเล่นแปรเปลี่ยนตามช่วงเวลาของสังคมเพลงตันหยงดำรงอยู่ในชุมชนพื้นที่รอบอ่าวพังงาด้วยการปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อตอบรับกับบทบาทหน้าที่ต่อชุมชนที่แตกต่างกัน ทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ การปรับเปลี่ยนจากรองเง็งสู่เพลงตันหยง การปรับเปลี่ยนไปสู่เพลงตันหยงแบบรำวง และการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดการเล่นเพลงตันหยงแบบรำวงและ การแสดงเพลงตันหยงเพื่อการอนุรักษ์ขึ้น การปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมพื้นที่ในอดีต ส่งผลให้เพลงตันหยงในชุมชนพื้นที่รอบอ่าวพังงาในปัจจุบันมีลักษณะทางดนตรีที่แสดงออกร่วมกันผ่าน 2 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1. เครื่องดนตรีและการประสมวง มีเครื่องดนตรีสำคัญ คือ ซอ (ไวโอลิน) รำมะนา และฆ้อง ประสมกันเป็นเครื่องดนตรีหลักของวง 2 ชนิด คือ วงดนตรีเพลงตันหยงทั่วไปกับวงดนตรีเพลงตันหยงประยุกต์ 2. ลักษณะทำนองเพลง มีพื้นฐานจากบันไดเสียงไดอะโทนิค (Diatonic) และกลุ่มเสียงปัญจมูล (Pentatonic) ในจังหวะสองธรรมดา (Simple duple time) มีเสียงโครงสร้างเป็นเสียงพื้นฐานของทำนองสำหรับสร้างกลุ่มโน้ต (Figurative) รูปแบบต่าง ๆ เคลื่อนที่ทั้งแบบตามขั้น (Conjunct Motion) ข้ามขั้น (Disjunct Motion) และซ้ำเสียง (Repetition) บทเพลงโครงสร้างภายในบทเพลง 3 แบบ ได้แก่ บทเพลงท่อนเดียว (Strophic Form) 2 ท่อน (Binary Form) และแบบขยายทำนอง (Theme and Variation) มีโครงสร้าง ในการบรรเลงที่เริ่มด้วยส่วนนำ (Introduction) บทเพลงแต่ละรอบ (ดอก) และท้ายเพลง ในรูปแบบจังหวะของเครื่องประกอบจังหวะ 7 รูปแบบ ได้แก่ จังหวะลาฆูดัว จังหวะมะอินัง จังหวะปาหรี จังหวะร็อกต๊กต๊ก จังหวะอย่าโฮ้ง จังหวะจำเปี้ยน และจังหวะสร้อยกำ