Browsing by Author "นลินทิพย์ นิรันดร์ทวีชัย"
Now showing 1 - 1 of 1
- Results Per Page
- Sort Options
Publication Open Access ผลของการใช้โปรแกรมการจัดท่าต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในระหว่างผ่าตัดของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ(2566) นลินทิพย์ นิรันดร์ทวีชัย; อุษาวดี อัศดรวิเศษ; รัตติมา ศิริโหราชัย; ภควัฒณ์ ระมาตร์; Nalinthip Niruntaweechai; Usavadee Asdornwised; Rattima Sirihorachai; Patkawat Ramartวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดร่วมกับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าตามปกติในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในท่าขึ้นขาหยั่ง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่ม แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ผู้สูงอายุจำนวน 42 คน ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด (PP) ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุมจำนวน 42 คน จะได้รับการจัดท่าและการพยาบาลตามปกติเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแผล Bates-Jensen Wound Assessment (ฉบับภาษาไทย) แบบประเมินการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย และโปรแกรมการจัดท่า ซึ่งประกอบด้วย แนวปฏิบัติการจัดท่าผ่าตัดในท่าขึ้นขาหยั่ง ร่วมกับการใช้เจลอุ่น บริเวณเบาะรองแขน และก้นกบและเครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบที แมน-วิทนีย์ ยู การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบของฟิสเชอร์ ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการเกิดแผลกดทับต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการจัดท่าบนพื้นฐานของแนวทางปฏิบัติในการจัดท่าและการใช้เครื่องมือประกอบ ได้แก่ การใช้เจลอุ่นและการใช้เครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ ส่งผลให้ระดับคะแนนของการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ ดังนั้น โปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมดังกล่าวในการปฏิบัติประจำ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะต่อไป