Publication: ผลของการใช้โปรแกรมการจัดท่าต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในระหว่างผ่าตัดของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ
Issued Date
2566
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
วารสารพยาบาลศาสตร์
Volume
41
Issue
4
Start Page
101
End Page
114
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 3 (ต.ค.-ธ.ค. 2566), 101-114
Suggested Citation
นลินทิพย์ นิรันดร์ทวีชัย, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, รัตติมา ศิริโหราชัย, ภควัฒณ์ ระมาตร์, Nalinthip Niruntaweechai, Usavadee Asdornwised, Rattima Sirihorachai, Patkawat Ramart ผลของการใช้โปรแกรมการจัดท่าต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในระหว่างผ่าตัดของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 41, ฉบับที่ 3 (ต.ค.-ธ.ค. 2566), 101-114. 114. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99166
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ผลของการใช้โปรแกรมการจัดท่าต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในระหว่างผ่าตัดของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ
Alternative Title(s)
The Effects of a Positioning Program for Pressure Ulcer and Peripheral Nerve Injury Prevention during Surgery among the Older Patients Undergoing Urological Surgery
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดร่วมกับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าตามปกติในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในท่าขึ้นขาหยั่ง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่ม แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ผู้สูงอายุจำนวน 42 คน ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด (PP) ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุมจำนวน 42 คน จะได้รับการจัดท่าและการพยาบาลตามปกติเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแผล Bates-Jensen Wound Assessment (ฉบับภาษาไทย) แบบประเมินการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย และโปรแกรมการจัดท่า ซึ่งประกอบด้วย แนวปฏิบัติการจัดท่าผ่าตัดในท่าขึ้นขาหยั่ง ร่วมกับการใช้เจลอุ่น บริเวณเบาะรองแขน และก้นกบและเครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบที แมน-วิทนีย์ ยู การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบของฟิสเชอร์
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการเกิดแผลกดทับต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการจัดท่าบนพื้นฐานของแนวทางปฏิบัติในการจัดท่าและการใช้เครื่องมือประกอบ ได้แก่ การใช้เจลอุ่นและการใช้เครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ ส่งผลให้ระดับคะแนนของการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ ดังนั้น โปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมดังกล่าวในการปฏิบัติประจำ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะต่อไป
Purpose: The aim of this study was to compare the pressure ulcer scores and the incidence of peripheral nerve injury among those who received the positioning program for pressure ulcer and peripheral nerve injury prevention with routine care and those who received only routine positioning and care among the older patients during urological surgery in a lithotomy position. Design: Two groups experimental research with pre- and post-test design. Methods: Participants were randomized into intervention and control groups. Forty-two elders in the intervention group were assigned to participate in the positioning program with routine care and forty-two elders in the control group received only routine positioning and care. Data were collected using a demographic data questionnaire, the Bates-Jensen Wound Assessment tool (Thai version), peripheral nerve injury assessment form. The positioning program consisted of the guideline for lithotomy positioning together with the use of warm gel cushions on the arm boards and sacrum area and intermittent pneumatic compression. Data were analyzed using independent t-test, the Mann-Whitney U test, the chi-square test and Fisher’s exact test. Main findings: The intervention group had statistically lower pressure ulcer scores, compared to the control group (p < .05). In addition, the incidence of peripheral nerve injury of the intervention group was significantly lower than that of the control group (p < .05). Conclusion and recommendations: The outcomes of intervention program based on the guideline for positioning and equipment used including warm gel and intermittent pneumatic compression showed lower scores for pressure ulcers and incidences of peripheral nerve injury than those in the control group. Thus, using the positioning program is recommended as a routine practice for pressure ulcer and peripheral nerve injury prevention in urological surgery patients.
Purpose: The aim of this study was to compare the pressure ulcer scores and the incidence of peripheral nerve injury among those who received the positioning program for pressure ulcer and peripheral nerve injury prevention with routine care and those who received only routine positioning and care among the older patients during urological surgery in a lithotomy position. Design: Two groups experimental research with pre- and post-test design. Methods: Participants were randomized into intervention and control groups. Forty-two elders in the intervention group were assigned to participate in the positioning program with routine care and forty-two elders in the control group received only routine positioning and care. Data were collected using a demographic data questionnaire, the Bates-Jensen Wound Assessment tool (Thai version), peripheral nerve injury assessment form. The positioning program consisted of the guideline for lithotomy positioning together with the use of warm gel cushions on the arm boards and sacrum area and intermittent pneumatic compression. Data were analyzed using independent t-test, the Mann-Whitney U test, the chi-square test and Fisher’s exact test. Main findings: The intervention group had statistically lower pressure ulcer scores, compared to the control group (p < .05). In addition, the incidence of peripheral nerve injury of the intervention group was significantly lower than that of the control group (p < .05). Conclusion and recommendations: The outcomes of intervention program based on the guideline for positioning and equipment used including warm gel and intermittent pneumatic compression showed lower scores for pressure ulcers and incidences of peripheral nerve injury than those in the control group. Thus, using the positioning program is recommended as a routine practice for pressure ulcer and peripheral nerve injury prevention in urological surgery patients.