NS-Article
Permanent URI for this collectionhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/83
Browse
Recent Submissions
Publication Open Access ปัจจัยทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน(2567) ลักษณ์ขนิษฐา อรัญกิตติภูมิ; สมสิริ รุ่งอมรรัตน์; อาภาวรรณ หนูคง; Lukkhanidtha Arunyakittiphoom; Somsiri Rungamornrat; Apawan Nookongวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของเวลาการใช้หน้าจอ ชั่วโมงการนอน พฤติกรรมการเลี้ยงดู 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร และความโกลาหลในบ้านต่อปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กก่อนวัยเรียน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดา มารดา หรือผู้ดูแลหลักของเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 3-5 ปี จำนวน 186 คู่ ที่เข้ารับการศึกษาในสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 8 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเวลาการใช้หน้าจอ แบบสอบถามชั่วโมงการนอนตอนกลางคืน แบบสอบถามพฤติกรรมการเลี้ยงดู 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร แบบสอบถามความโกลาหลในบ้าน และแบบประเมินปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ความโกลาหลในบ้านสามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน (gif.latex?\beta = .23, p < .01) ส่วนเวลาการใช้หน้าจอ ชั่วโมงการนอนตอนกลางคืน พฤติกรรมการเลี้ยงดูทั้งสองรูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงดูแบบสนับสนุนและการเลี้ยงดูแบบไม่เป็นมิตร ไม่สามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียน (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความโกลาหลในบ้านเป็นปัจจัยเพียงเรื่องเดียวที่สามารถทำนายปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียนได้ ดังนั้น พยาบาลเด็กและพยาบาลชุมชนควรร่วมกันวางแผนประเมินความโกลาหลในบ้านในการเยี่ยมบ้านเด็กก่อนวัยเรียน และควรพัฒนากลวิธีในการให้คำแนะนำแก่บิดา มารดา หรือผู้ดูแลหลักในการจัดการความโกลาหลในบ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กก่อนวัยเรียนPublication Open Access ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืด(2567) ณัฐกาญจน์ การัณยภาสสกุล; อาภาวรรณ หนูคง; อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์; Nattakan Karanyapassakul; Apawan Nookong; Arunrat Srichantaranitวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียนโรคหืดที่มารับบริการในคลินิกโรคหืดอย่างง่ายที่โรงพยาบาล 2 แห่ง ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 คน มีการจับคู่อายุและระดับการควบคุมอาการโรคหืด กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับการควบคุมอาการโรคหืด และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคหืด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบที และไคสแควร์ ผลการวิจัย: เด็กวัยเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.46, p < .001) และร้อยละของเด็กในกลุ่มทดลองอยู่ในระดับควบคุมอาการได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\chi2 = 7.22, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามแผนผ่านสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชัน สามารถส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนโรคหืดมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ส่งผลให้ระดับการควบคุมอาการโรคหืดดีขึ้น บุคลากรทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและควบคุมอาการของเด็กวัยเรียนโรคหืดPublication Open Access ปัจจัยทำนายการรับรู้ความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในช่วงการระบาดของโควิด-19(2567) พจนวรรณ ยาท้าว; สมสิริ รุ่งอมรรัตน์; อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์; Podchanawan Yataw; Somsiri Rungamornarat; Arunrat Srichantaranitวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรับรู้ความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในช่วงแพร่ระบาดของโควิด 19 รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดจำนวน 121 คน ที่ทารกได้รับการรักษาและจำหน่ายจากหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤตของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของมารดาและทารก 2) แบบสอบถามความรอบรู้ในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด 3) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกขณะอยู่โรงพยาบาล 4) แบบสอบถามความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้าน และ 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัย: ความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกกลับบ้านสามารถทำนายการรับรู้ความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้มากที่สุด (gif.latex?\beta = .55, p < .001) รองลงมาคือความรอบรู้ในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดา (gif.latex?\beta = .16, p = .047) โดยทั้งสองตัวแปรสามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ร้อยละ 39 (R2 = .39, F(2, 118) = 25.14, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: การเตรียมความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกและความรอบรู้ด้านสุขภาพของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด สามารถทำนายการรับรู้ความสามารถในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ ดังนั้นควรมีการประเมินความพร้อมของมารดาในการจำหน่ายทารกให้ครอบคลุมทุกด้าน ร่วมกับการส่งเสริมให้มารดามีความรอบรู้ในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ได้แก่ การจัดให้มีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับทารกเกิดก่อนกำหนดที่มารดาสามารถเข้าถึง เข้าใจง่าย น่าเชื่อถือ ทันสมัย จะสามารถส่งผลให้มารดาสามารถดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเมื่อกลับไปอยู่บ้านได้Publication Open Access ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรคปอด(2567) ชาตยา ภูมิประเสริฐ; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; วารุณี พลิกบัว; ยงค์ รงค์รุ่งเรือง; Chataya Poomprasert; Wimolrat Puwarawuttipanit; Warunee Phligbua; Yong Rongrungruangวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระบบการรับประทานยา อาการเหนื่อยล้า และพฤติกรรมสุขภาพ ต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยวัณโรคปอด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด มาตรวจติดตามการรักษาที่หน่วยตรวจโรคอายุรศาสตร์ ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ เป็นผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ และผู้ป่วยรักษาซ้ำ ที่ไม่อยู่ในระยะแพร่กระจายเชื้อและมีอาการและอาการแสดงของโรคสงบลง ระดับความรู้สึกตัวดี สื่อสารภาษาไทยได้ ไม่มีภาวะพร่องในการรู้คิด เกณฑ์การคัดออก คือ ได้รับการวินิจฉัยมีปัญหาทางจิตเวช และกำลังติดเชื้อโควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บป่วย 2) แบบสอบถามอาการเหนื่อยล้าของไปเปอร์ ฉบับปรับปรุง 3) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพเท่ากับ 63.43 (SD = 19.26) และร้อยละ 38 ระบุว่ามีสุขภาพดีใกล้เคียงกับเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว และจากการศึกษาพบว่า ระยะเวลาการเจ็บป่วย ระบบการรับประทานยา อาการเหนื่อยล้า และพฤติกรรมสุขภาพ สามารถอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยวัณโรคปอดได้ร้อยละ 34 (R2 = .34) โดยอาการเหนื่อยล้าสามารถทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพได้มากที่สุด รองลงมาเป็นพฤติกรรมสุขภาพและระยะเวลาการเจ็บป่วย (gif.latex?\beta = - .48, p < .001, gif.latex?\beta = .16, p < .05, gif.latex?\beta = .15, p < .05) ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: ระยะเวลาการเจ็บป่วย อาการเหนื่อยล้าและพฤติกรรมสุขภาพเป็นปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรคปอด ได้ ดังนั้นพยาบาลควรมีการประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลเหล่านี้ และมีการสร้างโปรแกรมการลดอาการเหนื่อยล้า ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้สอดคล้องเหมาะสมกับระยะเวลาที่เจ็บป่วย เพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยวัณโรคปอดต่อไปPublication Open Access Factors Predicting Infection Prevention Behaviors among Caregivers of Children with Cancer Undergoing Chemotherapy(2024)Purpose: The objective of this study was to assess the predictive power of health literacy, family support, and home environment on the infection prevention behaviors of caregivers of children with cancer undergoing chemotherapy. Design: Predictive correlational research. Methods: The study consisted of 80 caregivers of children with cancer, aged 1-15 years, all types of cancer at every state of treatment, who were followed up both inpatient and outpatient units at two tertiary hospitals in Bangkok. Convenience sampling was used to select the caregivers being the primary caregivers of the children while at home, aged 18-59 years, and able to communicate Thai language. Data were collected by using 5 questionnaires including 1) Demographic Data Questionnaire, 2) The Infection Prevention Behaviors Questionnaire, 3) The Health Literacy Questionnaire, 4) The Family Support Questionnaire, and 5) The Home Environment Questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression. Main findings: The results revealed that overall prevention infection behaviors were high (gif.latex?\bar{X} = 116, SD = 11.69). The mean score of health literacy (gif.latex?\bar{X} = 91.95, SD = 7.02) family support (gif.latex?\bar{X} = 66.18, SD = 9.08) and home environment (gif.latex?\bar{X} = 14.04, SD = 1.36) were also high. Health literacy was the only factor that could predict infection preventive behaviors (gif.latex?\beta = 0.30, t = 2.77, p < .01). Conclusion and recommendations: The caregivers' infection prevention behaviors were influenced by their level of health literacy. Consequently, it is imperative for nurses and healthcare professionals to thoroughly assess the health literacy of caregivers. Then provide support by implementing interventions designed to enhance health literacy in order to improve understanding and application of infection prevention knowledge. These interventions should provide additional channels to access to knowledge, including the preparation of fruits and vegetables, as well as oral assessment and oral hygiene to prevent infections in children with cancer undergoing chemotherapy.Publication Open Access ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัว(2567) เพียงหทัย กิ่งสังวาล; ยุพา จิ๋วพัฒนกุล; ปิยะธิดา นาคะเกษียร; Pianghathai Kingsangval; Yupa Jewpattanakul; Piyatida Nakagasienวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัว รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 86 คน เป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อาศัยอยู่ในชุมชน กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 43 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจที่ประยุกต์จากมโนมติการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson โดยได้ค้นพบสภาพการณ์จริงจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแล ได้รับคำแนะนำ คู่มือการดูแล และคลิปวิดีโอสั้นการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การโทรศัพท์กระตุ้นการตัดสินใจเลือกวิธีการดูแลที่เหมาะสมและลงมือปฏิบัติดูแลผู้ป่วยด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา การผ่อนคลายความเครียด และการมาตรวจตามนัด นอกจากนั้นยังได้รับข้อความสั้น 6 ครั้ง และการโทรศัพท์ติดตาม 4 ครั้ง เพื่อให้เกิดการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยมบ้านและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพทั่วไป ประเมินพฤติกรรมการดูแลก่อนและหลังให้โปรแกรม 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้พลังอำนาจของสมาชิกในครอบครัว และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ และแบบสองกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย: หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(84) = 10.75, p < .001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงก่อนได้รับโปรแกรม พบว่า คะแนนภายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (t(42) = 10.28, p < .001) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งควรออกแบบโปรแกรมสำหรับกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งควรนำโปรแกรมไปปรับใช้กับสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆPublication Open Access ประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(2567) สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง; กรกนก เกื้อสกุล; ญาดา หงษ์โต; Sudaporn Payakkaraung; Kornkanok Kuesakul; Yada Hongtoวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการให้ความหมายประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย รูปแบบการวิจัย: การศึกษาปรากฎการณ์วิทยาเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: สัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลที่เคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและแบบบอกต่อ ทุกการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยทำการมีการบันทึกเสียง ถอดเทปคำต่อคำ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลและตีความหมายข้อมูลด้วยวิธีการของโคไลซีร่วมกับการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย: พยาบาลจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 29-59 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 42.80 ปี (SD±8.23) ปฏิบัติงานในคลินิกนมแม่ (ร้อยละ 40, n = 8) อายุงานระหว่าง 5-38 ปี อายุงานเฉลี่ย 19.55 ปี (SD±9.60) ผลการวิจัยนำเสนอประสบการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก 8 ประเด็นย่อย โดย 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ปรับวิธีคิดและมุมมองในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) เปลี่ยนวิธีการให้บริการ และ 3) ขับเคลื่อนนโยบายด้านการปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 ยอมรับว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เผชิญกับความท้าทายหลายประการ ประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยโควิด-19 กระตุ้นให้พวกเขาปรับทัศนคติเพื่อให้การพยาบาลที่ดีขึ้น พัฒนาแนวทางใหม่ในการให้บริการด้านสุขภาพ และเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงปฏิบัติด้วยประสบการณ์ ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญด้วยการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและมีระบบสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตPublication Open Access ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด(2567) กมลรัตน์ สงนอก; นันทนา ธนาโนวรรณ; ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง; ภัทรวลัย ตลึงจิตร; Kamonrat Songnok; Nanthana Thananowan; Piyanun Limruangrong; Pattarawalai Talungchitวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอายุ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลในระยะคลอด และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสต่อความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาจากผลไปหาเหตุแบบกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดจำนวน 195 ราย ที่ผ่านการคลอดปกติและคลอดด้วยวิธีสูติศาสตร์หัตถการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จากโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษาจำนวน 65 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอด และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 130 ราย เป็นกลุ่มที่ไม่มีความดันโลหิตสูงในระยะที่ 1 ของการคลอด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางสูติกรรม แบบสอบถามความวิตกกังวลในระยะคลอด และแบบคัดกรองความรุนแรง ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการวิจัย: อายุ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ความวิตกกังวลในระยะคลอด และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรส สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษของผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอดได้ร้อยละ 36 (R2 = .36) และมีความแม่นยำในการทำนายได้ถูกต้องร้อยละ 76.9 (overall percentage = 76.9) ปัจจัยที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความวิตกกังวลในระยะคลอด (OR = 6.83, 95%CI = 3.10, 15.05) ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งได้แก่ ภาวะอ้วน (OR = 5.73, 95%CI = 2.27, 14.46) และน้ำหนักเกินเกณฑ์ (OR = 3.29, 95%CI = 1.39, 7.80) และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรส (OR = 2.92, 95%CI = 1.27, 6.70) ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: ความวิตกกังวลในระยะคลอด ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ และความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสมีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอด ดังนั้น พยาบาลผดุงครรภ์ควรประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวและพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้คลอดเพื่อป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์และภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะที่ 1 ของการคลอดPublication Open Access ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2(2567) ทิพย์วิมล มานะศักดิ์ศิริกุล; วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์; ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ; Thipvimol Manasaksirikul; Virapan Wirojratana; Doungrut Wattanakijkrilertวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ ความสามารถในการมองเห็น และการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เข้ารับบริการ ณ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 146 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณพบว่า ปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา รายได้ ความสามารถในการมองเห็น และการสนับสนุนจากครอบครัว สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 79.4 (adj R2 = .79) โดยการสนับสนุนจากครอบครัว (gif.latex?\beta = .50, p < .001) ระดับการศึกษา (gif.latex?\beta = .30, p < .001) ความสามารถในการมองเห็น (gif.latex?\beta = .24, p < .001) เป็นปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ เพศ และรายได้ ไม่ได้เป็นปัจจัยทำนาย สรุปและข้อเสนอแนะ: การสนับสนุนจากครอบครัว ระดับการศึกษาและความสามารถในการมองเห็นสามารถทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ดังนั้นทีมสุขภาพควรตรวจประเมินระดับการศึกษาและความสามารถในการมองเห็นเพื่อจัดกิจกรรมสุขภาพที่เหมาะสม พร้อมกับการประเมินการสนับสนุนจากครอบครัวเพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการรับบริการและกิจกรรมด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพPublication Open Access ปัจจัยทำนายอาการทรุดลงทางกายภาพในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด(2566) บัชชาคาน ปาทาน; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; พิจิตรา เล็กดำรงกุล; ยงค์ รงค์รุ่งเรือง; Bachchakhan Pathan; Wimolrat Puwarawuttipanit; Pichitra Lekdamrongkul; Yong Rongrungruangวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอายุ โรคร่วม ดัชนีมวลกาย ประวัติการสูบบุหรี่ และระดับน้ำตาลในเลือดต่ออาการทรุดลงทางกายภาพในผู้ป่วยภาวะเซพซิสที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาจำนวน 147 คน เป็นผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิงที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บป่วย แบบบันทึกข้อมูลการรับเข้าและจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล แบบประเมินภาวะโรคร่วม แบบประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: อายุ โรคร่วม ดัชนีมวลกาย ประวัติการสูบบุหรี่ และระดับน้ำตาลในเลือดสามารถร่วมกันทำนายอาการทรุดลงทางกายภาพในผู้ป่วยภาวะเซพซิสที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ได้ร้อยละ 43 (Nagelkerke R2 = .43) ปัจจัยทุกตัวยกเว้นระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำนายอาการทรุดลงทางกายภาพได้อย่างมีนัยสำคัญ ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการเกิดอาการทรุดลงทางกายภาพได้มากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีคะแนนมากกว่า 3 ขึ้นไป มีโอกาสเกิดอาการทรุดลงทางกายภาพ 10.45 เท่า (OR = 10.45; 95%CI = 3.40, 32.13, p < .001) ของกลุ่มที่มีคะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 สรุปและข้อเสนอแนะ: อายุ โรคประจำตัว ดัชนีมวลกาย และประวัติการสูบบุหรี่ สามารถทำนายการเกิดอาการทรุดลงทางกายภาพของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 และมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ดังนั้น พยาบาลควรประเมินปัจจัยดังกล่าวเพื่อเฝ้าระวัง รวมถึงการจัดกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมเพื่อการป้องกันอาการทรุดลงทางกายภาพระหว่างเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลPublication Open Access อิทธิพลของปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2(2567) จุฑามาศ อารีรมย์; ยาใจ สิทธิมงคล; ทวีศักดิ์ วรรณชาลี; ฐิติพงษ์ ตันคำปวน; Juthamas Areerom; Yajai Sitthimongkol; Taweesak Wannachalee; Thitipong Tankumpuanวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 104 ราย เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกาย แบบวัดความรู้สึกเครียดและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ปัจจัยที่มีอำนาจในการทำนายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ เพศ และระยะเวลาป่วยเบาหวาน โดยเพศหญิงมีโอกาสที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้เป็น 3.69 เท่าของเพศชาย (OR = 3.69, 95%CI = 1.29, 10.57; p < .05) และระยะเวลาป่วยเบาหวานที่เพิ่มขึ้น 1 ปี มีโอกาสที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้เพิ่มเป็น 1.09 เท่า (OR = 1.09, 95%CI = 1.04, 1.15; p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: เพศหญิง และระยะเวลาป่วยเบาหวานเป็นปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพที่มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาล พยาบาลจิตเวชควรตระหนักในประเด็นนี้และให้คำปรึกษาเพื่อเสริมพลังอำนาจให้ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและโรคเบาหวานหันมาดูแลตัวเองมากขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเป็นไปตามเป้าหมายPublication Open Access ผลของโปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์ต่อความตึงเครียดทางอารมณ์ และผลกระทบจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด(2565) รัตติยา รัตนเนตร; เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์; ศิริอร สินธุ; สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์; Rattiya Rattananade; Ketsarin Utriyaprasit; Siriorn Sindhu; Suebwong Chuthapisithวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์กับการดูแลตามปกติต่อความตึงเครียดทางอารมณ์ และผลกระทบจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัด รูปแบบการวิจัย: การทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมในระยะที่ I-II ที่มาติดตามการรักษาครั้งแรก และมีแผนการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดจำนวน 60 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 29 ราย กลุ่มทดลอง 31 ราย โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์ตามรูปแบบ patient navigation model ซึ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสบการณ์และการส่งมอบการรักษาด้านมะเร็งแก่ผู้ป่วยโดยการขจัดอุปสรรคในการดูแล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพอารมณ์ และแบบสอบถามผลกระทบจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ผลการวิจัย: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัดที่ได้รับโปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์มีผลรวมคะแนนเฉลี่ยของความตึงเครียดทางอารมณ์น้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .031) แต่อย่างไรก็ดี คะแนนเฉลี่ยผลกระทบจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .856) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัด ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความความตึงเครียดทางอารมณ์น้อยลงได้ พยาบาลสามารถนำโปรแกรมพยาบาลเนวิเกเตอร์นี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมPublication Open Access ผลของการใช้โปรแกรมการจัดท่าต่อการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในระหว่างผ่าตัดของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ(2566) นลินทิพย์ นิรันดร์ทวีชัย; อุษาวดี อัศดรวิเศษ; รัตติมา ศิริโหราชัย; ภควัฒณ์ ระมาตร์; Nalinthip Niruntaweechai; Usavadee Asdornwised; Rattima Sirihorachai; Patkawat Ramartวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดร่วมกับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าตามปกติในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในท่าขึ้นขาหยั่ง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่ม แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ผู้สูงอายุจำนวน 42 คน ได้รับโปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด (PP) ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุมจำนวน 42 คน จะได้รับการจัดท่าและการพยาบาลตามปกติเท่านั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแผล Bates-Jensen Wound Assessment (ฉบับภาษาไทย) แบบประเมินการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลาย และโปรแกรมการจัดท่า ซึ่งประกอบด้วย แนวปฏิบัติการจัดท่าผ่าตัดในท่าขึ้นขาหยั่ง ร่วมกับการใช้เจลอุ่น บริเวณเบาะรองแขน และก้นกบและเครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบที แมน-วิทนีย์ ยู การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบของฟิสเชอร์ ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการเกิดแผลกดทับต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการจัดท่าบนพื้นฐานของแนวทางปฏิบัติในการจัดท่าและการใช้เครื่องมือประกอบ ได้แก่ การใช้เจลอุ่นและการใช้เครื่องมือที่ใช้ลมบีบเพื่อให้เกิดแรงกดเป็นระยะๆ ส่งผลให้ระดับคะแนนของการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายระหว่างผ่าตัดน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ ดังนั้น โปรแกรมการจัดท่าสำหรับการป้องกันการเกิดแผลกดทับและการบาดเจ็บของเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด จึงควรส่งเสริมให้มีการใช้โปรแกรมดังกล่าวในการปฏิบัติประจำ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและการเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทส่วนปลายในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะต่อไปPublication Open Access อิทธิพลของอายุ ความรู้เกี่ยวกับการคลอด การสนับสนุนในระยะคลอด ระยะเวลาของการคลอด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก(2566) ถกลรัตน์ หนูฤกษ์; วรรณา พาหุวัฒนกร; ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง; Thakonrat Nhoorerk; Wanna Phahuwatanakorn; Piyanun Limruangrongวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของอายุ ความรู้เกี่ยวกับการคลอด การสนับสนุนในระยะคลอด ระยะเวลาของการคลอด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกที่รอคลอด และคลอดบุตรในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถามการสนับสนุนในระยะคลอด แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย: อายุ ความรู้เกี่ยวกับการคลอด การสนับสนุนในระยะคลอด ระยะเวลาของการคลอด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถร่วมกันทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกได้ร้อยละ 32 (R2 = .32) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายการรับรู้ประสบการณ์การคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (gif.latex?\beta = .25, p < .01 and gif.latex?\beta = .47, p < .01 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีผลต่อการรับรู้ประสบกาณ์การคลอดที่ดีในผู้คลอดครรภ์แรก ดังนั้นพยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการคลอด การปฏิบัติตัวขณะเจ็บครรภ์คลอด ส่งเสริมให้ผู้คลอดรู้สึกประสบความสำเร็จ พึงพอใจในการคลอด ทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เกิดการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีPublication Open Access ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในประเทศจีน(2565) Huaiying Guo; อรวมน ศรียุกตศุทธ; คนึงนิจ พงษ์ถาวรกมล; Huaiying Guo; Aurawamon Sriyuktasuth; Kanaungnit Pongthavornkamolวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการรับประทานยาจับฟอสเฟตในผู้ป่วย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในประเทศจีน รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 158 ราย ที่ได้รับการฟอกเลือดที่ศูนย์ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 แห่ง ภายใต้มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศจีน เข้าร่วมการวิจัยโดยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามฉบับภาษาจีน ได้แก่ 1) แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา 2) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการรับประทานยา 3) แบบสอบถามบรรยากาศการดูแลสุขภาพ ฉบับปรับปรุง และ 4) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยาจับฟอสเฟต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.4 ขาดความร่วมมือในการรับประทานยาจับฟอสเฟต ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้เกี่ยวกับยาจับฟอสเฟตดี (OR = 10.73, 95%CI = 3.84, 29.97) มีความเชื่อเกี่ยวกับความจำเป็นในการรับประทานยาสูง (OR = 1.23, 95%CI = 1.09, 1.39) และมีความกังวลเกี่ยวกับการรับประทานยาน้อย (OR = .88, 95%CI = .79, .98) มีความร่วมมือในการรับประทานยาจับฟอสเฟตดี สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในประเทศจีนมีความร่วมมือในการรับประทานยาจับฟอสเฟตน้อย ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับยาจับฟอสเฟตมีความสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วย บุคลากรสุขภาพควรเพิ่มความรู้และส่งเสริมความเชื่อทางบวกเกี่ยวกับยาจับฟอสเฟตด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมPublication Open Access ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอด(2566) ณชพัฒน์ จีนหลักร้อย; วรรณา พาหุวัฒนกร; ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง; Nachaphat Jeenlakroy; Wanna Phahuwatnakorn; Piyanun Limruangrongวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอด รูปแบบการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อน-หลังการทดลองและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลตติยภูมิ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 103 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 51 ราย และกลุ่มทดลอง 52 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนม และแบบสัมภาษณ์การให้อาหารทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีและไคสแควร์ ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมแม่ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมก่อนจำหน่ายและ 1 เดือนหลังคลอดต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 7.27, p < .001 และ t = 3.55, p = .001 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมแม่ของกลุ่มทดลองก่อนได้รับโปรแกรมสูงกว่าหลังได้รับโปรแกรมก่อนจำหน่ายและ 1 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.65, p < .001 และ t = 2.62, p = .01 ตามลำดับ) และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .18) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลช่วยให้มารดาที่ผ่าตัดคลอดเกิดการรับรู้ความเพียงพอของน้ำนม และสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ในระยะหลังคลอด ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรนำโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลไปใช้ในการดูแลมารดาหลังคลอดเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความเพียงพอของน้ำนมมารดาและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวPublication Open Access ปัจจัยทำนายระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม(2565) เอมวิกา สุขสถิตย์; สุพร ดนัยดุษฎีกุล; อรพรรณ โตสิงห์; ก้องเขต เหรียญสุวรรณ; Aemwika Suksatit; Suporn Danaidutsadeekul; Orapan Thosingha; Kongkhet Riansuwanวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม และเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายของดัชนีมวลกาย การดื่มแอลกอฮอล์ และการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของร่างกาย กับระยะวันนอนในโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: งานวิจัยศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม จำนวน 120 ราย จากโรงพยาบาลตติยภูมิ 4 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบประเมินการดื่มแอลกอฮอล์ และแบบประเมินการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.7 อายุเฉลี่ย 70.40 ปี (SD = 14.17) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 21.67 kg/m2 (SD = 2.53) การดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับเสี่ยงต่ำ (gif.latex?\bar{X} = 3, SD =3.80) การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของร่างกายอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} = 4.88, SD = 1.28) และมีระยะวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.59 วัน (SD = 1.90) โดยการดื่มแอลกอฮอล์ (gif.latex?\beta = .28, p < .01) ดัชนีมวลกาย (gif.latex?\beta = - .20, p < .05) และการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของร่างกาย (gif.latex?\beta = - .25, p < .01) สามารถทำนายระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้ที่นัยสำคัญ .05 และปัจจัยทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 19 (R2 = .19) สรุปและข้อเสนอแนะ: ดัชนีมวลกาย การดื่มแอลกอฮอล์ การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของร่างกาย มีผลต่อระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วย ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลส่งเสริมการมีดัชนีมวลกายที่เหมาะสม การลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ และส่งเสริมกิจกรรมการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อสะโพกเทียม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนโรงพยาบาลนาน ทำให้ลดระยะวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้Publication Open Access ผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ต่อความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในห้องฉุกเฉิน(2566) สุญาดา อรวงศ์ไพศาล; จงจิต เสน่หา; อัจฉริยา พ่วงแก้ว; ครองวงศ์ มุสิกถาวร; Suyada Orawongphaisal; Chongjit Saneha; Autchariya Poungkaew; Khrongwong Musikatavornวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนต่อความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในห้องฉุกเฉิน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติของผู้ป่วยเร่งด่วนที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 42 ราย และกลุ่มควบคุม 42 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนและกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และหลังจากผู้ป่วยเข้าไปในห้องฉุกเฉินเป็นเวลา 90 นาที ทั้งสองกลุ่มจะได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วย 5 นาที เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยและญาติ แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการสนับสนุนด้านข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบที และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีการวัดซ้ำ ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวลหลังได้รับโปรแกรมและหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) หลังได้รับโปรแกรมฯ ความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมในกลุ่มทดลองมีมากกว่าคะแนนความแตกต่างในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) อย่างไรก็ตาม หลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลระหว่างก่อนและหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน (p > .05) นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลขณะเผชิญหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน (p > .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนสามารถลดความกังวลของญาติผู้ป่วยเร่งด่วนในขณะรออยู่นอกห้องฉุกเฉินได้ พยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับประชากรกลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติพยาบาลตามปกติPublication Open Access ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด(2565) โยธกา เตชะปัญญา; จงจิต เสน่หา; วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช; นพดล โสภารัตนาไพศาล; Yotaka Techapanya; Chongjit Saneha; Wimolrat Puwarawuttipanit; Nopadol Soparattanapaisarnวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของอาการของวัยหมดประจำเดือน ความรอบรู้ทางสุขภาพ กิจกรรมทางกาย และภาวะโลหิตจางต่อคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับยาเคมีบำบัด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือนหลังได้รับยาเคมีบำบัดครบที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 129 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการของวัยหมดประจำเดือน แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามกิจกรรมทางกายนานาชาติฉบับย่อ และแบบวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีอาการของวัยหมดประจำเดือนรุนแรงร้อยละ 39.5 มีความรอบรู้ทางสุขภาพระดับมากร้อยละ 69 มีกิจกรรมทางกายปานกลาง ร้อยละ 40.3 และมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 47.3 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวมเท่ากับ 113.4 (SD = 17.78) อาการของวัยหมดประจำเดือน ความรอบรู้ทางสุขภาพ กิจกรรมทางกายและภาวะโลหิตจาง สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 51 (adjusted R2 = .51, F = 27.15, p < .05) เฉพาะอาการของวัยหมดประจำเดือน (gif.latex?\beta = - .66, p < .01) และความรอบรู้ทางสุขภาพ (gif.latex?\beta = .21, p < .01) เท่านั้นที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินอาการของวัยหมดประจำเดือน และความรอบรู้ทางสุขภาพ โดยให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการของวัยหมดประจำเดือน และส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้Publication Open Access ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก(2566) วิภวานี ทาเอื้อ; วรรณา พาหุวัฒนกร; ฤดี ปุงบางกะดี่; Wiphavanee Thaua; Wanna Phahuwatanakorn; Rudee Pungbangkadeeวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของระยะเวลาการคลอด การได้รับยาเร่งคลอด ความวิตกกังวล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรกจำนวน 131 ราย ที่มารับบริการคลอดบุตร และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอด ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกปริมาณยาออกซิโทซินที่ได้รับ แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และแบบสอบถามความเหนื่อยล้าในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย: ร้อยละ 77.1 ของกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในระดับต่ำ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 52.78 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ระยะเวลาการคลอด การได้รับยาเร่งคลอด ความวิตกกังวล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการคลอด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกได้ร้อยละ 20.4 โดยมีปัจจัยที่ศึกษาอย่างน้อยหนึ่งตัวสามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 6.42, p < .001) ปัจจัยทำนายที่พบ ได้แก่ ความวิตกกังวล และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด (gif.latex?\beta = .26, p < .01; gif.latex?\beta = - .26, p < .01 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ความวิตกกังวลและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดมีผลต่อความเหนื่อยล้าในระยะคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก ดังนั้นผดุงครรภ์และพยาบาลควรลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดแก่ผู้คลอดและส่งเสริมพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความเหนื่อยล้าในระยะคลอด