Publication: อิทธิพลของคุณภาพการนอนหลับ ฮีโมโกลบิน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการรู้คิดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Issued Date
2567
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
วารสารพยาบาลศาสตร์
Volume
42
Issue
2
Start Page
46
End Page
58
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2567), 46-58
Suggested Citation
อังคณา เสถียรดำเนิน, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, อัจฉริยา พ่วงแก้ว, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง, Angkhana Sathiandamnoen, Wimolrat Puwarawuttipanit, Autchariya Poungkaew, Yong Rongrungruang อิทธิพลของคุณภาพการนอนหลับ ฮีโมโกลบิน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการรู้คิดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2567), 46-58. 58. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99205
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
อิทธิพลของคุณภาพการนอนหลับ ฮีโมโกลบิน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและการรู้คิดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Alternative Title(s)
The Influences of Sleep Quality, Hemoglobin, Length of Hospital Stay and Cognitive Function on Health-Related Quality of Life in Sepsis Survivors at a Non-University Teaching Hospital
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของคุณภาพการนอนหลับ ระดับฮีโมโกลบิน ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และการรู้คิดต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
รูปแบบการวิจัย: การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยหลังจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 102 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยอายุรกรรม ที่โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาไม่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ 3) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ และ 4) แบบประเมินการรู้คิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 0.55 (SD = 0.39) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ร้อยละ 50 (adjusted R2 = .50) โดยคุณภาพการนอนหลับสามารถทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้มากที่สุด (gif.latex?\beta = .49, p < .001) รองลงมาคือ การรู้คิด (gif.latex?\beta = .31, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: คุณภาพการนอนหลับและการรู้คิดเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตลดลงของผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ลการศึกษานี้สนับสนุนความสำคัญของการประเมินคุณภาพนอนหลับและการรู้คิดของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
Purpose: To study the influences of sleep quality, hemoglobin, length of hospital stay and cognitive function on health-related quality of life in sepsis survivors. Design: predictive correlational research design. Methods: The sample consisted of 102 post-sepsis patients aged 18 years old and above admitted to the internal medicine ward of a non-university teaching hospital. Data were collected by using 1) the records form of personal information and history of illness of sepsis survivors, 2) the EuroQol 5-Dimension 5-Level for the assessment of quality of life, 3) the Veran & Snyder-Halpern Sleep Scale and 4) the Thai Mental State Examination. The data were analyzed by using descriptive statistics & multiple regression analysis. Main findings: The sepsis survivors had moderate health-related quality of life at gif.latex?\bar{X} = .55 (SD = 0.39). Multiple regression analysis revealed that all of the independent variables could account for 50% of the variance explained in health-related quality of life in sepsis survivors (adjusted R2 = .50), whereby sleep quality was the factor best able to predict health-related quality of life in sepsis survivors (gif.latex?\beta = .49, p < .001), followed by cognitive function at (gif.latex?\beta = .31, p < .001). Conclusion and recommendations: Sleep quality and cognitive function have been found as significant predictors of health-related quality of life in sepsis survivors. This study supports the significance of the assessment of sleep quality and cognitive function in sepsis survivors which leads to develop nursing programs for recovery and promotion of quality of life among sepsis survivors.
Purpose: To study the influences of sleep quality, hemoglobin, length of hospital stay and cognitive function on health-related quality of life in sepsis survivors. Design: predictive correlational research design. Methods: The sample consisted of 102 post-sepsis patients aged 18 years old and above admitted to the internal medicine ward of a non-university teaching hospital. Data were collected by using 1) the records form of personal information and history of illness of sepsis survivors, 2) the EuroQol 5-Dimension 5-Level for the assessment of quality of life, 3) the Veran & Snyder-Halpern Sleep Scale and 4) the Thai Mental State Examination. The data were analyzed by using descriptive statistics & multiple regression analysis. Main findings: The sepsis survivors had moderate health-related quality of life at gif.latex?\bar{X} = .55 (SD = 0.39). Multiple regression analysis revealed that all of the independent variables could account for 50% of the variance explained in health-related quality of life in sepsis survivors (adjusted R2 = .50), whereby sleep quality was the factor best able to predict health-related quality of life in sepsis survivors (gif.latex?\beta = .49, p < .001), followed by cognitive function at (gif.latex?\beta = .31, p < .001). Conclusion and recommendations: Sleep quality and cognitive function have been found as significant predictors of health-related quality of life in sepsis survivors. This study supports the significance of the assessment of sleep quality and cognitive function in sepsis survivors which leads to develop nursing programs for recovery and promotion of quality of life among sepsis survivors.