Publication: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยผ่านการเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริง
Issued Date
2567
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
Journal Title
วารสารพยาบาลศาสตร์
Volume
42
Issue
1
Start Page
95
End Page
110
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2567), 95-110
Suggested Citation
เสาวรส แพงทรัพย์, สุดหทัย ศิริเทพมนตรี, พรนภา ตั้งสุขสันต์, กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์, กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์, Saowaros Pangzup, Sudhathai Sirithepmontree, Pornnapa Tangsuksan, Kultida Subsomboon, Ameporn Ratinthorn ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยผ่านการเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริง. วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 42, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2567), 95-110. 110. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99202
Research Projects
Organizational Units
Authors
Journal Issue
Thesis
Title
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยผ่านการเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริง
Alternative Title(s)
Factors Influencing Nursing Students’ Learning Outcomes in Maternal-Newborn Care through Simulation-Based Learning
Author's Affiliation
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรู้ ทัศนคติต่อการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ ความเครียด สมรรถนะของผู้สอน การออกแบบการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง และการรับรู้ความสำคัญของการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ซึ่งได้แก่ ความพึงพอใจและความมั่นใจของตนเองในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยผ่านการเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริง
รูปแบบการศึกษา: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้เครื่องมือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง 3) แบบสอบถามการรับรู้อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ 4) แบบสอบถามการรับรู้ความเครียด 5) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะในการสอนของผู้สอน 6) แบบสอบถามการรับรู้การออกแบบการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง 7) แบบสอบถามการรับรู้ความสำคัญของการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง 8) แบบสอบถามความพึงพอใจและความมั่นใจในการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา: ตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 66 (R2 = .66) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความพึงพอใจของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ทัศนคติต่อการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (gif.latex?\beta = .43, p < .001) การรับรู้สมรรถนะในการสอนของผู้สอน (gif.latex?\beta = .22, p < .01) การรับรู้การออกแบบการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (gif.latex?\beta = .20, p < .05) และการรับรู้อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ (gif.latex?\beta = .16, p < .05) นอกจากนี้ ตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความมั่นใจของตนเองในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 60 (R2 = .60) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายความมั่นใจในการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเพียง 2 ตัวแปร คือ การรับรู้การออกแบบการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (gif.latex?\beta = .49, p < .001) และทัศนคติต่อการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง (gif.latex?\beta = .37, p < .001)
สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในหน่วยหลังคลอดเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจและความมั่นใจในการเรียนรู้มากขึ้นก่อนการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ซึ่งได้แก่ ทัศนคติของผู้เรียน อัตลักษณ์ทางวิชาชีพ สมรรถนะในการสอนของผู้สอน และการรับรู้การออกแบบการเรียนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง ผลการศึกษาเสนอแนะให้มีการพัฒนาปัจจัยดังกล่าวพร้อมทั้งบูรณาการอย่างเหมาะสมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใช้สถานการณ์เสมือนจริงแก่นักศึกษา
Purpose: This study aimed to examine the influences of student’s knowledge, attitude towards simulation-based education, professional identity, stress, teaching competencies, simulation design and perception of educational practice on learning outcomes including satisfaction towards and self-confidence in learning of maternal-newborn care through simulation-based learning. Design: Predictive correlational study design. Methods: The study sample included 100 third-year nursing students at a university located in Bangkok. Simple random sampling was used and data were collected from May to December 2022 by using the following questionnaires: 1) The personal data questionnaire 2) Attitude Scale towards Simulation-based Education 3) Professional Identity Scale for Nursing Students 4) Perceived Stress Scale 5) Evaluation of Teaching Competencies Scale 6) Simulation Design Scale 7) Educational Practice Questionnaire 8) Student Satisfaction and Self-Confidence in Learning Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson product moment correlation and multiple regression. Main findings: All study variables could account for 66% of the variance explained in the students’ satisfaction towards maternal-newborn care through simulation-based learning with four significant predictors consisting of attitude towards simulation-based education (gif.latex?\beta = .43, p < .001), teaching competencies (gif.latex?\beta = .22, p < .01), simulation design (gif.latex?\beta = .20, p < .05), and professional identity (gif.latex?\beta = .16, p < .05). For students’ self-confidence in maternal-newborn care through simulation-based learning, all study variables could account for 60% of the variance explained and there are two significant predictors namely, simulation design (gif.latex?\beta = .49, p < .001), and attitude towards simulation-based education (gif.latex?\beta = .37, p < .001). Conclusion and recommendations: To use simulation-based learning in the postnatal unit to prepares nursing students to have more satisfaction and self-confidence before practicing in a clinical ward, it is essential to be aware of the influencing factors including the attitude toward simulation-based education, professional identity of students, teaching competencies, and simulation design. The findings suggest that these four factors should be appropriately established and integrated into the students’ learning experience when using simulation-based learning.
Purpose: This study aimed to examine the influences of student’s knowledge, attitude towards simulation-based education, professional identity, stress, teaching competencies, simulation design and perception of educational practice on learning outcomes including satisfaction towards and self-confidence in learning of maternal-newborn care through simulation-based learning. Design: Predictive correlational study design. Methods: The study sample included 100 third-year nursing students at a university located in Bangkok. Simple random sampling was used and data were collected from May to December 2022 by using the following questionnaires: 1) The personal data questionnaire 2) Attitude Scale towards Simulation-based Education 3) Professional Identity Scale for Nursing Students 4) Perceived Stress Scale 5) Evaluation of Teaching Competencies Scale 6) Simulation Design Scale 7) Educational Practice Questionnaire 8) Student Satisfaction and Self-Confidence in Learning Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson product moment correlation and multiple regression. Main findings: All study variables could account for 66% of the variance explained in the students’ satisfaction towards maternal-newborn care through simulation-based learning with four significant predictors consisting of attitude towards simulation-based education (gif.latex?\beta = .43, p < .001), teaching competencies (gif.latex?\beta = .22, p < .01), simulation design (gif.latex?\beta = .20, p < .05), and professional identity (gif.latex?\beta = .16, p < .05). For students’ self-confidence in maternal-newborn care through simulation-based learning, all study variables could account for 60% of the variance explained and there are two significant predictors namely, simulation design (gif.latex?\beta = .49, p < .001), and attitude towards simulation-based education (gif.latex?\beta = .37, p < .001). Conclusion and recommendations: To use simulation-based learning in the postnatal unit to prepares nursing students to have more satisfaction and self-confidence before practicing in a clinical ward, it is essential to be aware of the influencing factors including the attitude toward simulation-based education, professional identity of students, teaching competencies, and simulation design. The findings suggest that these four factors should be appropriately established and integrated into the students’ learning experience when using simulation-based learning.